|
ไทย - ภาพ (ถ้ามี) |
สันสกฤต-โรมัน-อังกฤษ |
ศาสนา/สำนักแนวคิด |
รายละเอียด |
|
ฤๅษีไชยมิณิ หรือ ไชมิณิ |
जैमिनि - Jaimini |
มีมางสา - मीमांसा - Mīmāṁsā |
ท่านประพันธ์มีมางสา สูตร (मीमांसा सूत्र - Mīmāṁsā Sūtra - MS.) ราวพุทธศักราชที่ 243-343 (หรือก่อนคริสต์ศักราชที่ 300-200) ท่านเป็นหนึ่งในปราชญ์คนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูโบราณ ท่านเป็นหนึ่งในศิษยานุศิษย์ของมหาฤๅษีวยาส ผู้ประพันธ์ มหาภารตยุทธ, ผู้เสนอและพัฒนาปรัชญาภูรวะ มีมางสา (ภูรวะ หรือ ปุรวะ Purva แปลว่า มีมาก่อน หรือทิศตะวันออก) |
|
อาทิ ศังกราจารย์

ที่มา: https://devdutt.com, วันที่เข้าถึง: 6 ต.ค.67 |
Śaṁkara, आदिशङ्कर - Adi Shankara |
อไทวตะ เวทานตะ |
ท่านกำเนิดที่เมืองคาลาดี อาณาจักรเชระ ประมาณ พ.ศ.1343 หรือ ค.ศ.ที่ 8 อนิจกรรมที่เมืองเคดาร์นาท อาณาจักรกูรจะระ-ประทิหระ ประมาณ พ.ศ.1393 หรือ ค.ศ.750 เป็นปราชญ์และนักเทววิทยา ผลงานของท่านส่งผลกระทบอย่างมากต่อหลักคำสอนของอไทวตะ เวทานตะ ท่านได้ก่อตั้งสี่อาราม (Mathas) ซึ่งเชื่อกันว่าได้ช่วยพัฒนาฟื้นฟูประวัติศาสตร์ การขยายแนวคิดด้านอไทวตะ เวทานตะ. (ดูเพิ่มเติมใน ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย ข้อ 02 ข.บทนำ: ภควัทคีตา) |
|
พระมหาวีระ, พระมหาวรรธมานะ
|
|
เชน |
|
|
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
|
Lord Buddha |
พุทธ |
รายละเอียดดูใน พระพุทธศาสนา และ A04. สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า. |
|
เกาฏิลยะ |
कौटिल्य - Kauṭilya |
|
บ้างก็เรียก จาณักยะ (चाणक्य - Cāṇakya) บ้างก็เรียก วิษณุคุปต์ (विष्णुगुप्त - Viṣṇugupta) ราว พ.ศ.174-261 (87 ปี) (หรือ ประมาณ 370-283 ปีก่อนคริสตกาล) ท่านกำเนิดทางใต้ของอินเดีย อสัญกรรมที่เมืองปาฏลีบุตร เป็นปราชญ์และเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษาของพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งจักรวรรดิเมารยะ ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร โอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ในเวลาต่อมา และเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าอโศกมหาราชในการขึ้นครองราชย์ ผลงานที่สำคัญ อรรถศาสตร์ (अर्थशास्त्र - Arthaśāstra) และ จาณักยนีติ (Cāṇakyaniti). |
|
มหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาส
|
Vyās หรือ कृष्ण द्वैपायन वेदव्यास - Kṛṣṇa Dvaipāyana Vedavyāsa |
|
ท่านเป็นโอรสของนางสัตยวดี กับ ฤๅษีปราศร และคลอดตรงบริเวณเกาะกลางแม่น้ำยมุนามีชื่อเต็มว่า กฤษณะ ทไวปายณะ เวทวฺยาส (कृष्ण द्वैपायन वेदव्यास - Kṛṣṇa Dvaipāyana Vedavyāsa) แปลว่าผู้มีผิวคล้ำ (कृष्ण - Kṛṣṇa - ดำ) เกิดบนเกาะ (द्वीप - Dvīpa - ทวีป) แห่งแม่น้ำยมุนา (यमुना नदी) นั่นเอง และ อายน (อา+ยานะ - आयन - āyana) แปลว่า การมาถึงหรือการเกิด การเข้าไปสู่ (ราศี) ต่อมาเปลี่ยนเป็น วฺยาส แล้วออกบวชตามบิดาอยู่ในป่าหิมาลัย ต่อมานางสัตยวดีผู้เป็นมารดาได้ให้ไปทำนิโยคกับมเหสีม่ายของวิจิตรวีรยะ น้องชายต่างบิดา จึงต้องหลับนอนกับมเหสี ทั้งสองและนางกำนัลอีก 1 คน จนมีโอรสคือท้าวธฤตราษฎร์ ท้าวปาณฑุ และท้าววิทูร ต่อมาโอรสของท้าวธฤตราษฎร์ และท้าวปาณฑุแย่งบัลลังก์กันและล้มตายจำนวนนับล้าน ท่านฤๅษีเกิดความรันทด จึงต้องการบอกเล่าเรื่องราวของลูกหลาน ที่ฆ่าฟันกันเอง จึงเชิญพระคเณศมาเขียน เป็นที่มาของมหาภารตยุทธ, ที่มา: th.wikipedia.org, วันที่สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2560, ภาพ: www.mygodpictures.com, วันที่เข้าถึง 18 ธันวาคม 2565. |
|
คุรุ เคาฑปาทะ อาจารย
 |
गौडपाद - Gauḍapāda |
อทไวตะ เวทานตะ - Advaita Vedanta |
ท่านมีจริยวัตรปรากฎโลดแล่นราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นคุรุคนแรกในสายปรัชญาฮินดูของสำนักอทไวตะ เวทานตะ (Advaita Vedanta) เชื่อกันว่าท่านเป็นคุรุผู้ยิ่งใหญ่ของอาทิ ศังกราจารย์ (Adi Śaṁkara) ผู้เป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปรัชญาฮินดู เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ก่อตั้ง Shri Gaudapadacharya Math และเป็นผู้ประพันธ์หรือผู้รวบรวม Māṇḍukya Kārikā คุรุ เคาฑปาทะ อาจารย ได้เขียนหรือรวบรวม Māṇḍukya Kārikā หรือที่รู้จักในชื่อ Gauḍapāda Kārikā และ Āgama Śāstra |
|
รามานุชะ หรือ ศรีรามานุชาจารย์ |
Rāmānuja หรือ Sri Ramanujacharya |
วิศิษฎาทไวตะ - Viśiṣṭādvaita Vedanta |
และเป็นผู้นำที่สำคัญของลัทธิศรีไวษณพ สัมประทายะ (and the foremost Jeeyar of Sri Vaishnava Sampradaya) ท่านกำเนิดที่เมืองศรีเปรัมบูดูร์ (ปัจจุบันคือเมืองทมิฬ นาดู) อาณาจักรโชละ อินเดียใต้ 25 เมษายน พ.ศ.1560 หรือ ค.ศ.1017 อนิจกรรมที่เมืองศรีรันคัม อาณาจักรโชละ พ.ศ.1680 หรือ ค.ศ.1137 สิริ 120 ปี ท่านเป็นปราชญ์อินเดีย นักปฏิรูปสังคม และพัฒนาหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดของประเพณีด้านศรีไวษณพนิกายของศาสนาฮินดู รากฐานทางปรัชญาของท่านเป็นข้อคิดทางวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อขบวนการภักติ (Bhakti Movement). (ดูเพิ่มเติมใน ที่มา คำศัพท์ และคำอธิบาย ข้อ 03 ข.บทนำ: ภควัทคีตา).
อาจารย์ของท่านรามานุชะคือยาดาว ประกาศ (यादव प्रकाश - Yādava Prakāśa) ซึ่งเป็นปราชญ์ที่กล่าวกันว่าเป็นผู้นับถือลัทธิอทไวตะ เวทานตะ แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นลัทธิย่อยเภทาเภทะ (भेदाभेद - Bhedābheda - difference and non-difference) ประเพณีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถือว่ารามานุชะไม่เห็นด้วยกับครูบาอาจารย์ของท่านและลัทธิอทไวตะ เวทานตะที่ไม่เป็นทวิภาวะ แต่กลับเดินตามรอยเท้าของลัทธิทมิฬ อาลวาร์ (Āḻvār - นักบวชและกวีทางใต้ของภารตะ ซึ่งอุปถัมภ์ลัทธิภักติ) ปราชญ์นาธมุนี (नाथमुनि - Nathamuni) และยมุนาจารย์ (यमुनाचार्य - Yamunāchārya) รามานุชะมีชื่อเสียงในฐานะผู้สนับสนุนหลักของสำนักวิศิษฎาทไวตะ เวทานตะ และสาวกของเขาอาจเป็นผู้ประพันธ์ตำราต่าง ๆ เช่น ศาฏยายนียะ อุปนิษัท (शाट्यायनीय उपनिषत् - Śāṭyāyanīya Upaniṣad) ท่านรามานุชะเองก็เขียนตำราที่มีอิทธิพล เช่น สันสกฤตภาสยะ เกี่ยวกับพรหมสูตร และภควัทคีตา. |
|
ศรี มาธวาจารย์ หรือ มาธวะอาจารย์ |
Mādhava หรือ Mādva Acharya |
อไทวตะ เวทานตะ |
มาธวะ แปลว่า ผู้นำมาซึ่งฤดูใบไม้ผลิ ท่านถือกำเนิดบนชายฝังตะวันตกของรัฐกรณาฎกะ พ.ศ.1781 หรือ ค.ศ. 1238 และอนิจกรรมใน พ.ศ.1860 บ้างก็ว่า พ.ศ.1821 (หรือ ค.ศ.1317 บ้างก็ว่า ค.ศ.1278) . |
|
|
|
|
|
|
ปตัญชลิ |
Pataṅjali |
|
ผู้แต่งโยคสูตร ซึ่งรวบรวมสาระสำคัญในการปฏิบัติโยคะ |
|
กณาทะ บ้างก็เรียก กรณาทะ
 |
कणाद - Kaṇāda |
ไวเศษิกะ (वैशेषिक - Vaiśeṣika) |
กณาทะ (เรียกอีกอย่างว่า อุลลูกา, กัศยปะ, กัณภักษะ หรือ กัณภุช) เป็นนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติชาวอินเดียโบราณ ถือเป็นผู้ก่อตั้งสำนักหรือทรรศนะไวศษิกะแห่งปรัชญาอินเดีย และมักถูกเรียกว่า "บิดาแห่งทฤษฎีอะตอม" |
|
กปิลมุณี หรือ ฤๅษีกปิละ |
Kapila |
|
|
|
ภาสกราจารย์ หรือ ภาสกระ หรือ ภัสการยาจารย์ |
Bhāskara หรือ Bhāskarāchārya |
|
มีชีวิตระหว่าง พ.ศ. 1657-1728 หรือ ค.ศ.1114-1185 ท่านเป็นนักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ผลงานด้านพีชคณิต หรือ ภาสกรที่ 2 |
|
วิชญาณภิกษุ |
Vijñānabhikṣu |
นีโอ-เวทานตะ |
ปราชญ์ฮินดูจากรัฐพิหาร มีชีวิตอยู่ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 21-22 (10-11????)ท่านได้ให้คำแนะนำในสำนักต่าง ๆ ของปรัชญาฮินดู โดยเฉพาะได้อรรถาธิบายเกี่ยวสำนักแนวคิดด้านโยคะของปตัญชลิฤๅษี การรวมเป็นหนึ่งเดียวของปรัชญาเวทานตะ โยคะ และสางขยะ. ท่านได้รับการพิจารณาว่ามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการเคลื่อนไหวด้านปรัชญาเวทานตะใหม่ในยุคปัจจุบัน. |
|
มัทสุธาณะ สรสวตี |
Madhusūdana Sarasvatī |
ลัทธิอไทวตะ เวทานตะ |
(ราว ค.ศ.1540-1640 หรือ ราว พ.ศ.2083-2183) ท่านกำเนิดและถึงแก่กรรมที่เบงกอล เป็นปราชญ์ในลัทธิอทไวตะ เวทานตะ.
ปรสธานภีทะ (Prasthānabheda -प्रस्थानभेदः) เป็นงานเขียนสำคัญของมหาคุรุมัทสุธาณะ สรสวตี กล่าวถึงประเด็นในการบูรณาการระบบสศานาและปรัชญาต่าง ๆ ภายในกรอบแนวคิดด้านพระเวท ดังนั้นจึงถือเป็นงานเก่ากาลด้านแนวคิดเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. |
|
อุทยนะ หรือ อุทัยนะ หรือ อุทัยนาจารย์ |
Udayana หรือ Udayanācārya |
นยายะ |
ปราชญ์และนักตรรกวิทยาภารตะที่สำคัญ ท่านถือกำเนิดที่เมืองมถิลา (ปัจจุบันคือพิหาร ภารตะ) ในช่วง พ.ศ.1518-1593 (ค.ศ.975-1050) ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ปรัชญานยายะ ที่พยายามคิดค้นเทววิทยาที่มีเหตุผลเพื่อพิสูจน์การดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า โดยใช้ตรรกะและการตอบโต้ การกล่าวโจมตีถึงการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า (นั้นดำรงอยู่จริงหรือไม่) โดยปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา เช่น พระภิกษุธรรมกีรติ (Dharmakīrti) และ พระภิกษุญาณศรี (Jñānaśrī) และรวมทั้งต่อต้านสำนักวัตถุนิยมของอินเดีย (จารวาก - Chārvaka). |
|
มัคส์ มึลเลอร์

ที่มา: sriramakrishna.in, วันที่เข้าถึง 27 พฤศจิกายน 2564.
|
Max Müller (Friedrich Max Müller) |
|
นักอักษรศาสตร์ และนักบูรพคดีศึกษา ชาวเยอรมัน (6 ธันวาคม พ.ศ.2366 - 28 ตุลาคม พ.ศ.2443) ซึ่งพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เรียกท่านว่า "โมกษะมูลาจารย์", ที่มา: ส.ธรรมยศ จากหนังสือ "REX SIMEN SIUM หรือ พระเจ้ากรุงสยาม" หน้าที่ 23 สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, นนทบุรี, พิมพ์ครั้ง พ.ศ.2563 |
|
บาทรายณะ |
बादरायण - Bādarāyaṇa |
เวทานตะ |
ปราชญ์อินเดียที่มีชีวิต (ประมาณไว้กว้าง ๆ ) ระหว่างพุทธศักราชที่ 43-343 หรือราว 500-200 ปีก่อนคริสตกาล ท่านเขียนงานด้านพรหมสูตร ที่ต่อมางานของท่านเรียกว่า เวทานตะสูตร – มีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า แต่งานส่วนสำคัญในพรหมสูตรนั้น ได้พัฒนาไว้แล้ว ก่อนที่ปราชญ์บาทรายณะจะเขียนขึ้นต่อเติมภายหลัง อย่างไรก็ตามท่านก็ได้รับการยกย่องว่าได้เขียนงานพื้นฐานของระบบเวทานตะไว้. |
|
หริภทรา หรือ หริภัทรา หรือ อาจารย์ หริภัทรา ซุริ
Haribhadra, ที่มา: thestupa.com, วันที่เข้าถึง 6 ธันวาคม 2564.
|
Haribhadra หรือ Aacharya Haribhadra Suri |
|
ที่ทราบกันเป็นประเพณีว่าได้อนิจกรรมเมื่อก่อน พ.ศ.14 ปี หรือ ค.ศ.529 นั้น แต่ก็มีหลักฐานที่แน่ชัดกว่านั้นว่าท่านมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 14 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีผู้กล่าวไว้ไม่น้อยว่าท่านเปลี่ยนจากนับถือพราหมณ์มาเป็นเชน. ท่านยังคงมีชื่อเสียงในฐานะผู้เขียน "หนึ่งพันสี่ร้อยงานประพันธ์-Fourteen Hundred Prabandhas" (บทของผลงาน) และดูเหมือนว่าท่านจะเป็นหนึ่งในปราชญ์กลุ่มแรก ๆ ที่นำภาษาสันสกฤตมายังวรรณกรรมเชิงวิชาการของศาสนาเชน นิกายเศวตัมพร. ด้วยหกระบบนี้ บรรดาพราหมณ์ได้เข้าใจถึง สองมีมางสา สางขยะ และโยคะ นยายะ และไวศษิกะ. ในอีกมุมหนึ่งนั้น หริภทราได้แสดงอรรถาธิบายภายใต้นิกายปรัชญาเหล่านี้ไว้สั้นมากในแปดสิบเจ็ดโศลก แต่ค่อนข้างเป็นกลางในหลักการสำคัญของพุทธมากะ ผู้นับถือเชน และศิษยานุศิษย์ของปรัชญานยายะ ท่านเป็นนักพรตในศาสนาเชน นิกายเศวตัมพร (ยังมีข้อขัดแย้งเรื่องวันเกิด) ท่านมีชีวิตในช่วงก่อน พ.ศ.84-14 หรือ ค.ศ.459-529 ท่านประพันธ์หนังสือไว้หลายเล่มด้านโยคะ ศาสนาเปรียบเทียบ โดยได้สรุปวิเคราะห์ทฤษฎีของชาวฮินดู พุทธมามกะ และผู้นับถือเชนไว้. |