ในยุครุ่งเรืองของปรัชญาเฉกเช่นวัยหนุ่มสาว เช่นเดียวกับสมัยของเพลโตและอริสโตเติล พวกเขาก็เรียนรู้ที่จะสนับสนุนวิทยาการอื่น ๆ เช่น การเมือง หรือ จริยธรรม. เป็นปรัชญาเทววิทยาสำหรับยุคกลาง เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของเบคอน01.และนิวตัน02. ประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมวิทยาสำหรับปราชญ์ในพุทธศตวรรษที่ 22-23 (คริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า). ในอินเดียนั้น ปรัชญายืนทะนงได้ด้วยตนเอง และศิลปะวิทยาการเหล่าอื่น มุ่งเน้นไปที่แรงบันดาลใจและการสนับสนุน. เพราะนี่คือวิชชาชั้นครูที่ชี้แนะแก่ศาสตร์อื่น ๆ หากไร้ซึ่งวิชชาเหล่านี้ ศาสตร์ทั้งหลายก็โน้มไปสู่ความว่างเปล่าและโง่เขลา. ในมุณฑกะอุปนิษัท03. ได้กล่าวถึงพรหมา-วิทยาหรือศาสตร์แห่งความเป็นนิรันดร์ ซึ่งเป็นฐานของศาสตร์ทั้งมวล สรรพ-วิทยา-ปรติษฏา04. "ปรัชญา" ในคำกล่าวของเกาฏิลยะ05. หมายถึง "เป็นประทีปแห่งศาสตร์ทั้งมวล เป็นวิธีแห่งการปฏิบัติงานทั้งปวง และเป็นเครื่องสนับสนุนหน้าที่ในทุกภาระงาน"1.
เนื่องจากปรัชญาเป็นความพยายามของมนุษย์ในการทำความเข้าใจปัญหาของจักรวาล จึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเชื้อชาติและวัฒนธรรม. แต่ละชาติมีแนวความคิดที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน ซึ่งส่งผลต่อการเบี่ยงเบนทางภูมิปัญญาโดยเฉพาะในตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาของประวัติศาสตร์ ในทุกความผันผวนที่อินเดียได้ผ่านพ้นไปนั้น มีการปรากฎอัตลักษณ์ที่โดดเด่นบางประการปรากฎให้เห็น. มีคุณลักษณะทางจิตวิทยาบางอย่างที่ประกอบขึ้นเป็นมรดกพิเศษ และเป็นเครื่องหมายแสดงคุณลักษณะเฉพาะของชาวอินเดีย ตราบเท่าที่พวกเขาได้รับอภิสิทธิ์ในการดำรงอยู่ที่แยกห่างจากกัน. ความเป็นปัจเจกนั้นหมายถึงการเติบโตอย่างอิสระ. ไม่จำเป็นที่ต้องแตกต่างกัน เนื่องด้วยมนุษย์ในโลกทั้งผองต่างก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมที่เกี่ยวข้องทางจิตวิญญาณ. ความแตกต่างเหล่านี้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังความแตกต่างด้านอายุ ประวัติศาสตร์และอารมณ์ได้. สิ่งเหล่านี้ได้เพิ่มความมั่งคั่งให้กับวัฒนธรรมโลก เนื่องจากไม่มีราชมรรคานำไปสู่การพัฒนาทางปรัชญาใด ๆ เช่นเดียวกับผลลัพธ์อื่น ๆ ที่คุ้มค่า. ก่อนที่เราจะสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของความคิดของอินเดีย อาจมีคำกล่าวบ้างเล็กน้อยเกี่ยวกับอิทธิพลของตะวันตกที่มีต่อความคิดของอินเดีย.
มักมีคำถามบ่อย ๆ ว่าความคิดของอินเดียได้ยืมแนวคิดมาจากแหล่งต่างประเทศเช่น กรีซ มากน้อยเพียงใด. แง่มุมบางส่วนที่ปราชญ์ชาวอินเดียได้หยิบยกมานั้น มีลักษณะคล้ายกับหลักคำสอนบางอย่างที่พัฒนาขึ้นมาในสมัยกรีกโบราณ มากจนใครก็ตามที่สนใจจะทำลายความน่าเชื่อถือของระบบความคิดนี้
---------------
1. ดูใน บ.อ., 1918 หน้า 102, ดู ภ.ค. บรรพที่ 10 อัธยายะที่ 32.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เบคอน (ฟรานซิส เบคอน - Francis Bacon) ชาวอังกฤษ {22 มกราคม พ.ศ.2104 (ค.ศ.1561) - 9 เมษายน พ.ศ.2169 (ค.ศ.1626)} ท่านเป็นประธานศาลสูงสุดของอังกฤษ ปราชญ์ รัฐบุรุษ นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย และนักเขียน ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคแห่งเหตุผล "ความรู้คืออำนาจ" .
02. นิวตัน (เซอร์ไอแซค นิวตัน - Sir Isac Newton) ชาวอังกฤษ {4 มกราคม พ.ศ.2185 (ค.ศ.1642) - 31 มีนาคม พ.ศ.2270 (ค.ศ.1727)} ท่านเป็นผู้ตั้งกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ความโน้มถ่วงสากลฯ ขึ้น.
03. มุณฑกะอุปนิษัท รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ใน อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ หน้าที่ 11.
04. สรว หรือ สรรพ-วิทยา-ปรติษฏา (sarva-vidyā-pratiṣṭhā) มาจาก सर्व - sarva - สรรพ หมายถึง ทั้งหมด, विद्या - vidyā หมายถึง ความรอบรู้ - discernment -buddhi, प्रतिष्ठा - pratiṣṭhā หมายถึง ศักดิ์ศรี.
05. เกาฏิลยะ (कौटिल्य - Kauṭilya) บ้างก็เรียก จาณักยะ (चाणक्य - Cāṇakya) บ้างก็เรียก วิษณุคุปต์ (विष्णुगुप्त - Viṣṇugupta) ราว พ.ศ.174-261 (87 ปี) (หรือ ประมาณ 370-283 ปีก่อนคริสตกาล) ท่านกำเนิดทางใต้ของอินเดีย อสัญกรรมที่เมืองปาฏลีบุตร เป็นปราชญ์และเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษาของพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งจักรวรรดิเมารยะ ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร โอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ในเวลาต่อมา และเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าอโศกมหาราชในการขึ้นครองราชย์ ผลงานที่สำคัญ อรรถศาสตร์ (अर्थशास्त्र - Arthaśāstra) และ จาณักยนีติ (Cāṇakyaniti).
.
.
24
หรือระบบความคิดนั้นสามารถทำได้โดยง่ายดาย.1 คำถามเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของความคิดเป็นการเสาะแสวงที่ไร้ประโยชน์. สำหรับจิตใจที่ปราศจากอคติ ความบังเอิญดูดหล่านี้จะเป็นหลักฐานของความคล้ายคลึงกันทางประวัติศาสตร์. ประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันก่อให้เกิดเจตคติที่คล้ายคลึงกันในจิตใจของมนุษย์. ไม่มีหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญพอที่จะพิสูจน์ได้ว่ามีการหยิบยืมจากตะวันตก (แนวคิดทางปรัชญาจากกรีกมายังอินเดีย) กันโดยตรง. ด้วยอัตราใด ๆ เลย. เรื่องราวเกี่ยวกับความคิดอินเดียของเรานั้น แสดงให้เห็นว่าอินเดียเป็นกิจอิสระของจิตใจมนุษย์. ปัญหาเชิงปรัชญาต่าง ๆ ได้ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์โดยไร้อิทธิพลหรือความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก. แม้จะมีการติดต่อสื่อสารกับชาวตะวันตกเป็นครั้งคราว อินเดียเองก็ยังมีอิสระในการพัฒนาชีวิตในอุดมคติ ปรัชญา และศาสนาตนเอง. ไม่ว่าจะมีความจริงเพียงใดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดเบื้องต้นของชาวอารยัน ที่เดินทางมายังคาบสมุทร (ชมพูทวีป) ในไม่ช้าพวกเขาก็ขาดการติดต่อกับเครือญาติที่อยู่ทางตะวันตกหรือทางเหนือ และได้พัฒนารังสรรค์สายเส้นแนวคิดต่าง ๆ ของตนเองขึ้นมา. เป็นความจริงที่ว่าครั้งแล้วครั้งเล่าที่อินเดียถูกบีฑารุกรานจากทัพต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางช่องเขาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ไม่มีใครเลยยกเว้นกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ที่ได้ทำให้เกิดบางสิ่งอันส่งเสริมความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณระหว่างโลกทั้งสอง. ต่อมา เมื่อประตูแห่งท้องทะเลได้เปิดขึ้น ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากจึงเกิดขึ้น ซึ่งเราก็มิอาจคาดเดาได้ เนื่องจากผลลัพธ์ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการสร้างสรรค์. ดังนั้นในทางปฏิบัติทั้งหมดแล้ว เราอาจมองว่าความคิดอินเดียนั้นเป็นระบบปิดหรือการเติบโตที่เป็นอิสระ.
II
คุณลักษณะทั่วไปของแนวคิดอินเดีย
ปรัชญาในอินเดียนั้น เป็นเรื่องของจิตวิญญาณเป็นหลัก. เป็นจิตวิญญาณอินเดียที่เข้มข้น และไม่ใช่โครงสร้างทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่
---------------
1 เซอร์วิลเลี่ยม โจนส์ ได้เขียนไว้ว่า: “สำหรับสำนักปรัชญาต่าง ๆ มันเพียงพอแล้วที่จะตั้งข้อสังเกตว่า สำนักปรัชญาแห่งที่หนึ่ง นยายะ (นำไปสู่ความจริงแท้) นั้นคล้ายคลึงกับสำนักเพริพาเททิก (เป็นหนึ่งในสำนักศึกษาทางปรัชญาในสมัยกรีกโบราณ ซึ่งมีรูปแบบการสอนปรับปรุงมาจากวิธีการของผู้ก่อตั้ง คือ อริสโตเติล นักปรัชญากรีก) สำนักปรัชญาแห่งที่สองบางครั้งเรียกว่า ไวเศษิกะ (แนวคิดแบบพหุสัจนิยม เชื่อว่าส่วนที่เล็กที่สุดของสสารคือปรมาณูมีจำนวนมาก แบ่งแยกไม่ได้และเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโลก) ซึ่งเป็นไปเพื่อไอออนิก (สำนักปรัชญาโยนก – ที่พยายามอธิบายธรรมชาติของสสาร) สองแห่ง มีมางสา ซึ่งเป็นลำดับที่สองมักจะโดดเด่นด้วยชื่อของเวทานตะไปจนถึงปรัชญาเพลโตนิก (ความคิดเท่านั้นที่ห่อหุ้มธรรมชาติที่แท้จริง ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดและไม่ได้ถูกค้นพบโดยผ่านประสบการณ์ เราจึงต้องเข้าถึงความจริงด้วยการนึกตรึกและการวิเคราะห์เชิงตรรกะโดยขจัดความคิดผิด ๆ ออกไป) จากปรัชญาแรกคือสางขยะ ไปสู่แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปราชญ์แห่งคาบสมุทรอิตาลี; และปรัชญาที่สองของปตัญชลิ (ปราชญ์อินเดีย ผู้แต่งโยคสูตร ซึ่งรวบรวมสาระสำคัญในการปฏิบัติโยคะ) สู่ปรัชญาสโตอิก (ก่อตั้งโดยปราชญ์กรีก มีแนวคิดว่าเราต้องควบคุมตนเองให้ปลอดจากการเกาะติดและจากอารมณ์กวนใจ คุณธรรม เหตุผลและกฎธรรมชาติ เป็นตัวชี้นำสำคัญ) เพื่อให้โคตมะ (สมเด็จพระบรมศาสดาโคตมพุทธะ) สอดคล้องกับอริสโตเติล, กณาทะกับเธลีส ฤๅษีไชยมินิกับโสกราตีส ฤๅษีวฺยาสกับเพลโต กบิลมุณีกับพีทาโกรัส และปตัญชลิกับซีโน” (ชิ้นงาน i 360-1 ดู โคลบรู๊ค เรียงความปกิณกะ บทที่ 1 (i). หน้า 436 และหน้าต่อไป) ในขณะที่ชาวกรีกมีความเห็นว่า ความคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดียนั้นมักมีขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นนาน ๆ ทีที่จะมีการกระตุ้นว่าความคิดของอินเดียนั้นมาจากกรีก {ดูการ์เบ (Professor Richard Garbe แห่ง Prussia) ปรัชญาอินเดียโบราณ บทที่ 2 (ii)}
.
.
25
หรือองค์กรทางสังคมที่ได้พัฒนาขึ้น ปรัชญาแนวคิดอินเดียนี้ยังคงยืนหยัดคงทนต่อการทำลายล้างของกาลเวลาและอุบัติเหตุต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์มาได้. การรุกรานจากภายนอกและการขัดแย้งภายในได้รุกเข้ามาบดขยี้เกือบทำลายอารยธรรมของอินเดียหลายครั้งในประวัติศาสตร์. พวกกรีกและไซเธียน (กลุ่มชนเผ่านักรบเร่ร่อนโบราณแถบยูโรเซีย ปัจจุบันอยู่ทางใต้ของประเทศซีเรีย) พวกเปอร์เซียและพวกโมกุล ชาวฝรั่งเศสและพวกอังกฤษได้พยายามข่มบำราบแนวคิดอินเดียนี้ และเราก็ยังคงเชิดศีรษะอย่างองอาจ. ในที่สุดแล้วอินเดียก็ไม่ได้ถูกพิชิต และเปลวไฟแห่งจิตวิญญาณอันเก่ากาลก็ยังคงลุกโชน. โดยตลอดแล้ว ชีวิตของอินเดียนั้นอยู่ได้ด้วยวัตถุประสงค์เดียว. อันเป็นการต่อสู้เพื่อความจริงและต่อต้านความผิดพลาด. ชีวิตของอินเดียอาจจะพลาดพลั้งไปบ้าง แต่มันก็ให้เรารู้สึกได้และเรียกร้องให้ทำ. ประวัติศาสตร์ความคิดอินเดียได้อธิบายการแสวงหาที่ไม่รู้จบรู้สิ้นของจิตใจ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่.
อาณาจักรไซเธียและเปอร์เซียโบราณ, ที่มา: www.pinterest.com, วันที่เข้าถึง 17 ก.พ.2564
1.
แรงจูงใจทางจิตวิญญาณเข้าครอบงำชีวิตในอินเดีย. ปรัชญาอินเดียนั้นให้ความสนใจกับสิ่งที่หลอกหลอนผู้คน และไม่เกี่ยวกับลักขณาจันทรคติใด ๆ . ปรัชญาอินเดียมีรากเง้าจากชีวิต และย้อนเข้าไปยังชีวิตที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียน. ผลงานอันยิ่งใหญ่ของปรัชญาอินเดียไม่ได้เป็นเช่นมหาวิหาร (แอ็กซ์ เคธีดรา) อันมีคุณลักษณะที่โดดเด่นหลังจากได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์และได้รับข้อคิดเห็นแล้ว. คีตาและอุปนิษัทไม่ได้อยู่ไกลจากความเชื่ออันเป็นที่นิยม. ทั้งสองมหาคัมภีร์เป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ และขณะเดียวกันก็เป็นยานพาหนะของระบบความคิดที่เยี่ยมยอด. คัมภีร์ปุราณะประกอบด้วยความจริงที่ประเทืองขึ้นมาจากปกรณัมและเรื่องเล่าขานต่าง ๆ คลุมห่อความเข้าใจที่อ่อนด้อยของผู้คนส่วนใหญ่เอาไว้. นั่นคือภารกิจที่ยากเข็ญอันน่าสนใจยิ่งในความมหึมาของอภิปรัชญาที่ประสบความสำเร็จในอินเดีย.
ผู้รังสรรค์ปรัชญาได้มุ่งมั่นที่จะปฏิรูปสังคมและจิตวิญญาณของประเทศ. เมื่ออารยธรรมอินเดียที่ถูกเรียกว่าอารยธรรมพราหมณ์นั้น นั่นหมายความว่าคุณลักษณะหลักและเป็นแรงจูงใจที่โดดเด่นที่ได้รับการหล่อหลอมโดยนักคิดทางปรัชญาและจิตใจทางศาสนา แม้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นไม่ได้ถือกำเนิดในศาสนาพราหมณ์ทั้งหมดก็ตาม. แนวคิดของเพลโตที่ว่านักปรัชญาจะต้องเป็นผู้ปกครองและผู้นำทางสังคมด้วยนั้น ถูกนำไปปฏิบัติในอินเดีย. ความจริงขั้นสูงสุดก็คือความจริงทางจิตวิญญาณ และเมื่อพิจารณาจากความจริงเหล่านี้ ชีวิตจริงจะต้องได้รับการขัดเกลาให้เหมาะสม.
ศาสนาในอินเดียนั้น ไม่ใช่เป็นลัทธิใด ๆ แต่มันเป็นการผสมผสานอย่างมีเหตุผลซึ่งจะรวบรวมแนวคิดใหม่ ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ในขณะที่ปรัชญาได้พัฒนาไป. นี่เป็นการทดลองและเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวตามธรรมชาติ โดยพยายามก้าวให้ทันความก้าวหน้าของความคิด. คำวิจารณ์ทั่วไปเกี่ยวกับความคิดอินเดีย
1.
2.
26
โดยเน้นที่ภูมิปัญญา ผลักดันให้ปรัชญาเข้ามาแทนที่ศาสนา และนำเอาเหตุผลของศาสนามาสู่อินเดีย. ไม่มีความเคลื่อนไหวทางศาสนาเกิดขึ้นเลย โดยปราศจากพัฒนาการที่สนับสนุนเนื้อหาเชิงปรัชญา. ฮาเวลล์ได้ให้ข้อสังเกตว่า “ในอินเดียนั้น ศาสนาไม่ใช่แค่หลักคำสอน แต่เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ปรับให้เข้ากับขั้นตอนต่าง ๆ ของพัฒนาจิตวิญญาณและเงื่อนไขชีวิตที่แตกต่างกัน.”1 เมื่อใดก็ตามที่มีแนวโน้มว่าจะตกผลึกหลงเชื่อในลัทธิที่ตายตัว ก็จะมีการฟื้นฟูทางจิตวิญญาณและปฏิกิริยาทางปรัชญา ซึ่งโยนความเชื่อเข้าไปในเบ้าหลอมของการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อพิสูจน์ความจริงและต่อสู้กับความมดเท็จ. เราสังเกตได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า เมื่อความเชื่อที่ยอมรับกันโดยทั่วไปไม่เพียงพอ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเท็จก็ตาม ด้วยกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป และวัยที่เพิ่มขึ้นก็หมดความอดทนต่อความเชื่อเหล่านี้ เกิดความเห็นแจ้งจากคุรุท่านใหม่ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาวีระ วฺยาส หรือ ศังกราจารย์ ที่มีพละเหนือกว่าได้เขย่าความลึกซึ้งของชีวิตจิตวิญญาณ. ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ความคิดของอินเดีย เป็นช่วงเวลาแห่งการทดสอบภายในและการหยั่งภาพไปข้างหน้า เมื่อได้รับเสียงเพรียกจากลมปราณของจิต ซึ่งพัดไปยังที่ที่ไม่มีผู้ใดทราบและมาจากไหน จิตวิญญาณแห่งมนุษย์ก็เริ่มต้นขึ้นและก้าวสู่การผจญภัยครั้งใหม่. ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างความจริงแท้ทางปรัชญาและชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้ศาสนามีชีวิตและเป็นจริงเสมอ.

มหาฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วฺยาส (Vyās หรือ कृष्णद्वैपायन वेदव्यास - Kṛṣṇa Dvaipāyana Vedavyāsa),
ที่มา: www.patheos.com, วันที่สืบค้น 15 กรกฎาคม 2560.
1.
ปัญหาทางศาสนาได้กระตุ้นจิตวิญญาณแห่งปรัชญา. จิตใจชาวอินเดียได้รับการฝึกปรือมาโดยตลอดในประเด็นเกี่ยวกับธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า จุดจบของชีวิตและความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลกับจิตวิญญาณสากล. แม้ว่าปรัชญาในอินเดียจะไม่ได้ปลดปล่อยตัวเองจากความหลงไหลในการคาดเดาทางศาสนาอย่างสิ้นเชิง แต่การอภิปรายทางปรัชญาก็ถูกขัดขวางโดยรูปแบบของตัวศาสนาเอง.แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วปรัชญาในอินเดียจะไม่หลุดพ้นจากอิทธิพลของการคาดเดาทางศาสนาโดยสมบูรณ์ แต่การอภิปรายทางปรัชญากลับถูกขัดขวางโดยรูปแบบทางศาสนา. แต่ทั้งสองสิ่งนี้ไม่สับสนกัน เนื่องจากมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ หลักคำสอนและชีวิต ปรัชญาที่ไม่สามารถยืนหยัดต่อการทดสอบชีวิตได้ ไม่ว่าจะในเชิงปฏิบัติหรือในความหมายมากที่กว้างขึ้นของคำนี้ ก็ไม่มีโอกาสรอด. สำหรับผู้ที่ตระหนักถึงความเป็นเครือญาติอย่างแท้จริงระหว่างชีวิตและทฤษฎี ปรัชญาได้กลายเป็นวิถีชีวิตและทฤษฎี ปรัชญากลายมาวิถีชีวิต เป็นแนวทางสู่การบรรลุธรรมทางจิตวิญญาณ. ไม่มีการเรียนการสอนใด ๆ แม้แต่ปรัชญาสางขยะ01 ก็เป็นเพียง,
---------------
1. กฎของอารยันในอินเดีย, หน้าที่ 170. ดูบทความเรื่องหัวใจของลัทธิฮินดู: วารสารฮิบเบิร์ต, ตุลาคม, พ.ศ.2465.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. สางขยะ (सांख्य - Sāṁkhya) - ดูรายละเอียดในหน้าที่ 18 ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001.
1.
2.
27
คำกล่าวจากปากต่อปาก (มุขปาฐะ) หรือหลักของสำนักความคิดเท่านั้น. ทุกหลักคำสอนได้กลายเป็นความเชื่อมั่นที่เร่งเร้า กระตุ้นหัวใจของมนุษย์และเกิดลมหายใจที่โล่งขึ้น.
1.
การกล่าวว่าปรัชญาในอินเดียไม่เคยสำนึกในตนเองหรือวิพากษ์วิจารณ์นั้นไม่เป็นความจริง. แม้ในช่วงแรก การไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล มักจะช่วยแก้ไขความเชื่อทางศาสนาได้. จะเห็นได้ว่าศาสนาได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นโดยนัยจากบทสวดในพระเวทไปจนถึงอุปนิษัท. เมื่อเราได้หันมาสู่บวรพุทธศาสนาแล้ว จิตวิญญาณแห่งปรัชญาได้กลายเป็นเจตคติที่มีความมั่นคงในจิตใจ ซึ่งในสารัตถะทางปัญญาแล้ว จะไม่คดงอต่ออำนาจอิทธิพลภายนอก และไม่ยอมรับขอบเขตความพยายาม เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นผลลัพทธ์ของตรรกะ ซึ่งตรวจสอบทุกสิ่ง ทดสอบทุกสิ่ง และติดตามอย่างไร้ความกลัวเกรงไม่ว่าจะมีการโต้แย้งอย่างไรก็ตาม. เมื่อเราเข้าถึงทรรศนะและระบบความคิดต่าง ๆ แล้ว เราจะมีความพยายามอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องในการคิดอย่างเป็นระบบ. การที่ระบบจะปลอดจากศาสนาดั้งเดิมและความลำเอียงโดยสิ้นเชิงเพียงใดนั้น จะเห็นได้ชัดจากข้อเท็จจริงที่ว่าสางขยะจะไม่ได้กล่าวถึงการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่าจะมั่นใจในทฤษฎีที่พิสูจน์ไม่ได้ก็ตาม. แม้ว่า ไวเศษิกะ01. และโยคะ02. จะยอมรับว่าทรรศนะของตนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด แต่ก็ไม่ถือว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างจักรวาล และฤๅษีไชยมิณิ03. (มหาฤๅษีผู้พัฒนาปรัชญามีมางสา) ได้อ้างถึงพระผู้เป็นเจ้า เพียงเพื่อปฏิเสธการดูแลและการปกครองตามศีลธรรมของพระองค์. เป็นที่รู้กันว่าระบบพระพุทธศาสนาในยุคแรกนั้นไม่สนใจในพระเจ้า และเรายังมีพวกจารวากวัตถุนิยม ผู้ซึ่งปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้า เยาะเย้ยนักบวช ด่าทอพระเวทและแสวงหาทางรอดด้วยความปรีดา.
อำนาจสูงสุดของศาสนาและประเพณีทางสังคมในชีวิต ไม่ได้ขัดขวางการแสวงหาปรัชญาอย่างเสรี. มันเป็นความขัดแย้งที่แปลกประหลาดและไม่มีอะไรที่มากไปกว่าความจริงที่แจ่มชัดว่า ในขณะที่ชีวิตทางสังคมของแต่ละบุคคลถูกผูกมัดไว้ด้วยความเข้มงวดของวรรณะ ทว่าเขาก็มีอิสระที่จะก้าวต่อไปในเรื่องของความคิดเห็น. มีการตั้งคำถามอย่างอิสระและวิพากษ์วิจารณ์หลักความเชื่อที่มนุษย์กำเนิดมาโดยเสรี. นั่นคือเหตุผลว่าทำไมคนนอกรีต คนคลางแคลงใจ ผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า ผู้ใช้เหตุผล และนักคิดอิสระ นักวัตถุนิยม และนักสุขนิยม ต่างก็เจริญรุ่งเรืองในแผ่นดินอินเดีย. ในมหาภารตะกล่าวไว้ว่า “ไม่มี มุนี 04 คนไหนที่ไม่มีความคิดเห็นเป็นของตนเอง.”
ทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงสติปัญญาอันแข็งแกร่งของจิตใจชาวอินเดีย ที่เพียรพยายามรู้ความจริงแท้ภายในและกฎกรณีย์ทุกด้านของมนุษย์. แรงกระตุ้นทางปัญญา -

มหาฤๅษีไชยมิณิ ผู้เสนอและพัฒนาปรัชญาภูรวะ มีมางสา (ภูรวะ หรือ ปุรวะ Purva แปลว่า มีมาก่อน หรือทิศตะวันออก),
ที่มา: www.sanskritimagazine.com, วันที่เข้าถึง 9 มีนาคม 2564.
1.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ไวเศษิกะ (वैशेषिक - Vaiśeṣika) รายละเอียดดูในหน้าที่ 18 ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001 .
02. โยคะ (Yoga) รายละเอียดดูในหน้าที่ 18 ปรัชญาอินเดีย เล่มที่ 2.001.
03. ฤๅษีไชยมิณิ (जैमिनि - Jaimini) รายละเอียดดูใน หน้าที่ 1 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
04. มุนี (मुनि - Muni) แปลว่า ความเงียบ (Silent).
1.
2.
28
- นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงปรัชญาและเทววิทยา แต่ครอบครอบคลุมถึงตรรกะและไวยากรณ์ วาทศาสตร์และภาษา การแพทย์และดาราศาสตร์ด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วครอบคลุมศิลป์และศาสตร์ทุกประเภท ตั้งแต่สถาปัตยกรรมจนถึงสัตววิทยา. ทุกสรรพสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตหรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจแก่จิตใจแล้ว จะกลายเป็นเป้าหมายของการสืบค้นและวิพากษ์วิจารณ์. ซึ่งจะทำให้ทราบถึงลักษณะที่ครอบคลุมโดยรวมของชีวิตทางปัญญา ให้รับทราบแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นการขยายพันธุ์ม้า และการฝึกช้างซึ่งก็มีศาสตร์และบันทึกข้อเขียนเป็นของตนเอง.
ความพยายามทางปรัชญาในการกำหนดธรรมชาติของความจริงแท้ อาจเริ่มต้นด้วยตัวตนของความคิดหรือตัววัตถุแห่งความคิด. ซึ่งในอินเดียนั้น ความสนใจของปรัชญาอยู่ที่ตัวตนของมนุษย์. ขณะที่การมองภาพไปเบื้องหน้าได้เปิดออก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจะครอบงำจิตใจไว้. ในอินเดียนั้น “อาตมานัม วิทธิ”01 หมายถึง การรู้จักตน ประมวลกฎหมายและบรรดาศาสดา. ภายในตัวมนุษย์นั้น จิตวิญญาณเป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง. จิตวิทยาและจริยธรรมถือเป็นศาสตร์พื้นฐาน. ชีวิตแห่งจิตถูกพรรณนาด้วยความหลากหลายที่เคลื่อนไหวได้และการเล่นแสงและเงาอย่างละเอียดอ่อน. จิตวิทยาของอินเดียนั้นได้ตระหนักถึงคุณค่าของการทำสมาธิ และมองว่ามันเป็นเครื่องมือในการรับรู้ความจริงแท้. เชื่อกันว่าไม่มีขอบเขตชีวิตหรือจิตใจใด ที่ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ได้ด้วยการฝึกฝนเจตจำนงและความรู้อย่างเป็นระบบ. การได้รับรู้ถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างจิตและกาย. ประสบการณ์ทางจิต อาทิ การรับรับรู้ทางจิต (กระแสจิต) และการมองเห็นล่วงหน้า (ตาทิพย์) ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรืออัศจรรย์แต่อย่างใด. มันไม่ใช่ปาฏิหาริย์. ไม่ใช่เป็นผลผลิตจากสภาวะจิตที่ป่วยไข้หรือได้รับแรงบันดาลใจจากเทพเจ้าแต่อย่างใด แต่ทว่าเป็นพลังที่จิตใจของมนุษย์สามารถแสดงออกได้ภายใต้เงื่อนไขของการตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว. จิตใจของมนุษย์นั้นมีสามแง่มุม ได้แก่ จิตใต้สำนึก จิตสำนึก และจิตเหนือสำนึก (ความมีสติสัมปชัญญะ) และปรากฎการณ์ทางจิตที่ “ผิดปกติ” ซึ่งมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันอาทิ ความปิติยินดี อัจฉริยะ แรงบันดาลใจ ความบ้าคลั่ง ซึ่งล้วนเป็นการทำงานของจิตเหนือสำนึก. ระบบปรัชญาโยคะจะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เช่นนี้เป็นพิเศษ แม้ว่าระบบอื่น ๆ จะอ้างถึงประสบการณ์เหล่านี้ และใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ของมันก็ตาม.
โครงร่างของอภิปรัชญาขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ทางจิต. คำวิจารณ์ที่ว่าอภิปรัชญาตะวันตกมีแนวคิดเพียงด้านเดียว เนื่องจากความสนใจถูกกักขังในสภาวะที่ตื่นรู้โดยลำพังเท่านั้น มันไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผล. มีสภาวะจิตสำนึกอื่น ๆ ของสติสัมปชัญญะ ที่สมควรรับการพิจารณาเช่นเดียวกับ-
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. อาตมานัม วิทธิ (आत्मानं विद्धि - Ātmānam viddhi) แปลว่า "รู้จักตัวเอง" หรือ "รู้จักตัวตนที่แท้จริงของสูเจ้า" ในภาษาสันสกฤต เป็นแนวคิดเชิงปรัชญาที่ส่งเสริมการไตร่ตรองและเข้าใจธรรมชาติของตนเอง.
1.
2.
29
-สภาวะการตื่น. ความคิดของอินเดียคำนึงถึงรูปแบบการตื่น การฝัน และการหลับไร้ฝัน. หากเรามองไปที่จิตสำนึกที่ตื่นขึ้นโดยรวมแล้ว เราจะได้แนวคิดด้านอภิปรัชญาที่เป็นความจริงแท้ เป็นทวิภาวะ (เป็นคู่) และพหุภาวะ. เมื่อได้ศึกษาจิตสำนึกแห่งความฝันโดยเฉพาะแล้ว เราจะพบกับหลักคำสอนในแนวคิดส่วนบุคคล (ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ - อัตวิสัย). สภาวะการนอนหลับที่ปราศจากความฝันนั้น จะโน้มเอียงไปสู่ทฤษฎีที่เป็นนามธรรมและลึกลับได้. ความจริงแท้ทั้งมวลต้องคำนึงถึงรูปแบบของจิตสำนึกทั้งหมด.
ด้วยความสนใจในอัตวิสัยที่มีอิทธิพลเหนือสิ่งอื่นใดนั้น ก็มิได้หมายความว่าศาสตร์ด้านภววิสัย (สิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง) จะไร้ซึ่งคำกล่าวใด ๆ . หากเราอ้างถึงความสำเร็จจริง ๆ ของอินเดียในขอบเขตของศาสตร์ในเชิงบวกแล้ว เราจะเห็นว่าเป็นกรณีตรงข้าม. ชาวอินเดียโบราณได้วางรากฐานองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และกลศาสตร์ไว้. พวกเขาวัดพื้นที่ แบ่งปี ทำแผนที่ท้องฟ้า วาดเส้นทางของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่าง ๆ โดยผ่านแถบจักรราศี วิเคราะห์เทหวัตถุ (องค์ประกอบ) ของสสาร และศึกษาธรรมชาติของนกและสัตว์ป่า พืชและเมล็ดพันธุ์1. “ไม่ว่าเราจะสรุปอย่างไรเกี่ยวกับที่มาดั้งเดิมของแนวคิดทางดาราศาสตร์แรก ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งเป็นไปได้ว่าชาวฮินดูได้คิดค้นพีชคณิตและนำมาประยุกต์ใช้กับดาราศาสตร์และเรขาคณิต. นอกจากนี้ชาวอาหรับยังได้รับแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์พีชคณิตครั้งแรกจากพวกเขาด้วย และรวมถึงสัญลักษณ์ตัวเลขและสัญกรณ์ทางทศนิยมอันประเมินค่ามิได้นี้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันแพร่หลายในยุโรป ซึ่งได้นำมาใช้สนองความก้าวหน้าทางด้านคณิตศาสตร์ไว้อย่างมากมาย”2. “ชาวฮินดูได้สังเกตอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และด้วยความสำเร็จอย่างมากกำหนดเกี่ยวกับวงโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งมีความแม่นยำกว่าสิ่งที่ชาวกรีกได้ทำไว้. เหล่าชนฮินดูได้แบ่งวงจรรูปไข่ (ของดวงจันทร์) ออกเป็นยี่สิบเจ็ดและยี่สิบแปดส่วน อันนำไปสู่ปรากฎการณ์การแบ่งคาบวันต่าง ๆ ของดวงจันทร์ -
---------------
1. เราอาจยกข้อความที่มีอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปีก่อนการกำเนิดของโคเปอร์นิคัส จากคัมภีร์ไอตเรยะ พราหมณะ (การรวบรวมบทสวดที่ศักดิ์สิทธิ์ของอินเดียโบราณ ในฤคเวท กล่าวถึง "ตัวตนและอาตมันของมนุษย์") รายละเอียดดูเพิ่มเติมใน อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ หน้าที่ 4: “ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกหรือขึ้นเลย. เมื่อผู้คนคิดกับตนเองว่าดวงอาทิตย์กำลังตกนั้น. เขา (ดวงอาทิตย์) เพียงเปลี่ยนไปหลังจากถึงจุดสิ้นสุดของวันเท่านั้น และเปลี่ยนกลางคืนให้เป็นสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง. เมื่อผู้คนคิดว่าเขาตื่นขึ้นในตอนเช้า เขาก็เปลี่ยนไปหลังจากถึงจุดสิ้นสุดของคืนเท่านั้น และเปลี่ยนกลางวันให้เป็นสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง. แท้จริงแล้วเขาไม่เคยตกเลย.” การตีพิมพ์ของฮุง, บทที่ 3; ฉานโทคยะ อุปนิษัท, บทที่ 3 รายละเอียดดูเพิ่มเติมใน อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ หน้าที่ 3: เล่มที่ 2. 1-3 แม้ว่าจะเป็นคติชน แต่ก็มีความน่าสนใจ.
2 โมเนียร์ วิลเลี่ยม: ภูมิปัญญาชาวอินเดีย, หน้า 184.
1.
2.
30
- และดูเหมือนจะเป็นคาบเวลาของพวกเขาเอง. เหล่าชนฮินดูนี้คุ้นเคยเป็นพิเศษกับดาวเคราะห์หลักที่สวยงามที่สุด ซึ่งก็คือรอบการโคจรของดาวพฤหัสบดี ร่วมกับช่วงเวลา (การโคจร) ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ นำไปสู่การวางระเบียบปฏิทินในรูปแบบของวัฏจักรหกสิบปี ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับเหล่าชนฮินดูและชาวคาลเดีย (กลุ่มชนโบราณที่อยู่แถบคาลเดีย ช่วง 800 ปีก่อนคริสตกาล และปกครองกรุงบาบิโลน ช่วง 625-539 ปีก่อนคริสตกาล).”1 ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าชาวฮินดูในช่วงแรก ๆ นั้น ได้ก่อกำเนิดและพัฒนาสองศาสตร์คือ ด้านตรรกะและไวยากรณ์ขึ้นมา.2
ตำแหน่งที่ชนเผ่าโบราณคาลเดียน อาศัยและปกครองกรุงบาบิโลน
ที่มา: chaldeansapter.weebly.com, วันที่เข้าถึง 18 มีนาคม 2564.
1.
วิลสันได้เขียนว่า : “ในทางการแพทย์นั้นก็เฉกเช่นกับดาราศาสตร์และอภิปรัชญา ครั้งหนึ่งชาวฮินดูเคยก้าวทันเป็นชนชาติที่รู้แจ้งมากที่สุดในโลก เหล่าชนฮินดูบรรลุทักษะด้วยขีดความสามารถในด้านการแพทย์และศัลยกรรมอย่างละเอีดดถี่ถ้วน ในขณะที่มีผู้นำไปบันทึกศึกษาและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ก่อนที่กายวิภาคศาสตร์ได้เป็นที่รู้จักโดยผู้ค้นคว้ายุคใหม่.”3 เป็นความจริงที่ว่าเหล่าชนฮินดูนี้ไม่ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรกลที่ยอดเยี่ยมใด ๆ. ซึ่งสรวงสวรรค์ที่ทรงปราณี ท่านได้ประทานแหล่งน้ำที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งภักษาหารอันอุดมให้เหล่าชนฮินดูรับผิดชอบครอบครอง. ขอให้เราจดจำไว้ว่าสิ่งประดิษฐ์กลไกต่าง ๆ ที่เราทำและครอบครองนั้นมีขึ้นถึงพุทธศตวรรษที่ 21 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้นอินเดียก็เสียเอกราชและกลายเป็นผู้พึ่งพาไปเสียแล้ว (นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไป). ในวันที่เธอ (อินเดีย) ได้สูญเสียอิสรภาพ และเริ่มหยอกเอินกับชาติอื่น ๆ คำสาปก็ตกใส่เธอและเธอก็กลัวจนตัวแข็ง (ชะงักไปในด้านการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์). จนถึงขณะนั้นเธอยังคงยืนหยัดถือครองตนไว้ได้ แม้ในงานศิลปะ งานฝีมือและอุตสาหกรรม โดยไม่จำต้องกล่าวถึงคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี การแพทย์ ศัลยกรรม และองค์ความรู้ด้านกายภาพที่เธอได้ใช้กันมาแต่ครั้งโบราณ. เธอยังรู้วิธีสิ่วหิน วาดภาพ ขัดทอง และได้ทอผ้าอย่างประณีต. เธอได้พัฒนางานวิจิตรศิลป์ และเชิงอุตสาหกรรม อันเป็นการเงื่อนไขในการดำรงอยู่ไว้อย่างมีอารยะ. เรือของเธอได้ข้ามมหาสมุทรและนำพาความมั่งคั่งหลั่งไหลไปยัง ยูเดีย อียิปต์ และโรม. แนวความคิดของเธอทางด้านมนุษย์และสังคม ศีลธรรมและศาสนาที่น่าทึ่งมากในช่วงเวลานั้น. เราไม่สามารถกล่าวได้อย่างสมเหตุสมผลได้นักว่าชนชาวอินเดียมีความหลงไหลในบทกวีและนิยายปกรณัม และปฏิเสธวิทยาศาสตร์รวมทั้งปรัชญา แม้จะเป็นความจริงที่ว่าเหล่าชนชาวอินเดียตั้งใจที่จะแสวงหาความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง มากกว่าที่จะเน้นความคมชัดและการแยกออกจากกับของสรรพสิ่งก็ตาม.
จิตใจที่คาดเก็งเอาประโยชน์นั้นเป็นสิ่งที่สังเคราะห์ขึ้นได้ ในขณะที่จิตใจที่เป็นวิทยาศาสตร์-
---------------
1. งานแปลของโคลบรู๊ก เรื่อง ผลงานด้านพีชคณิตของภาสกราจารย์ (หรือ ภาสกรที่ 2 - भास्कर - Bhāskara) หน้าที่ 22.
2. ดูงาน วรรณกรรมสันสกฤต ของมัคส์ มึลเลอร์,
3. งาน, เล่มที่ 3 หน้าที่ 269,
1.
2.
31
จะเป็นแบบวิเคราะห์มากกว่า หากอนุญาตให้มีการแยกแยะเช่นนั้น. อย่างแรกมักจะสร้างปรัชญาจักรวาลขึ้น ซึ่งล้อมรอบถึงวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมถึงจุดกำเนิดของสรรพสิ่ง ประวัติศาสตร์แห่งยุคสมัยและการสลายตัว และการผุพังสลายไปของโลก. อย่างหลังนี้ (ความคิดทางวิทยาศาสตร์) มีแนวโน้มที่จะยึดติดกับรายละเอียดอันน่าเบื่อของโลก และพลาดโอกาสที่จะรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความสมบูรณ์พร้อม. ความคิดของชนอินเดียพยายามพินิจการดำรงอยู่ด้วยมุมที่กว้างไกลและการไม่เป็นส่วนตน และทำให้มีผู้วิจารณ์นำข้อกล่าวหาของการเป็นคนมีอุดมการณ์และมีความคิดไตร่ตรองมากขึ้น ทำให้การมองไปข้างหน้านั้นดูออกจะเพ้อฝันและเป็นคนแปลกหน้าในโลก ในขณะที่ความคิดของชาวตะวันตกออกจะมีความเฉพาะเจาะจงและเน้นในทางปฏิบัติมากกว่า. ส่วนอย่างหลังนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเรียกว่าประสาทสัมผัส ส่วนอย่างแรกได้กดประสาทสัมผัสทางจิตวิญญาณไปสู่ประโยชน์จากการคาดการณ์. เป็นอีกครั้งหนึ่งที่สภาพทางธรรมชาติของอินเดียเป็นเหตุให้โลกนี้เกิดการตรึกตรอง และแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งด้านจิตวิญญาณของอินเดียผ่านบทเพลง เรื่องราว ดนตรี และการเต้นรำ พิธีกรรมทางศาสนาโดยไม่ถูกรบกวนจากโลกภายนอก. มีประโยคกล่าวว่า “ตะวันออกที่หมกหมุ่น” มักเป็นการเยาะเย้ยนั้น มันไปด้วยกันไม่ได้เลย และปราศจากความจริงโดยสิ้นเชิง.
นี่เป็นวิสัยทัศน์เชิงสังเคราะห์ของชนอินเดีย ที่ทำให้ปรัชญาครอบคลุมศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้แตกแขนงซึ่งแตกต่างกันในยุคปัจจุบัน. ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมานั้น ในโลกตะวันตกองค์ความรู้หลายสาขาที่รวมอยู่ในปรัชญา เศรษฐศาสตร์ การเมือง ศีลธรรม จิตวิทยา การศึกษา ได้ถูกตัดขาดออกไปทีละแขนง. ปรัชญาในสมัยเพลโตนั้นหมายถึง ศาสตร์ทั้งหมดล้วนผูกพันกับธรรมชาติของมนุษย์และแก่นของประโยชน์เชิงการเก็งกำไรของมนุษย์. ในทำนองเดียวกันซึ่งพระคัมภีร์โบราณของอินเดีย เรามีเนื้อหาทั้งหมดของขอบเขตทางปรัชญา. ในระยะหลังนี้ ปรัชญาตะวันตก ก็กลายเป็นคำพ้องความหมายเดียวกันกับอภิปรัชญา หรือ การอภิปรายที่ล้ำลึกถึงองค์ความรู้ การดำรงอยู่ และคุณค่า และมีข้อตำหนิกันว่าอภิปรัชญาได้กลายเป็นทฤษฎีอย่างแท้จริง ตัดขาดออกจากจินตนาการและการปฏิบัติของธรรมชาติมนุษย์ไปเสียแล้ว.
หากเรานำความสนใจส่วนตัวของจิตใจชนชาวอินเดียมารวมกับแนวโน้มที่จะไปถึงวิสัยทัศน์สังเคราะห์ เราจะเห็นว่าอุดมคติแบบเอกนิยม (ความเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย) นั้น ได้กลายมาเป็นความจริงของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร. การเติบโตในประเด็นทั้งมวลของแนวคิดแบบพระเวทนั้น ขึ้นอยู่กับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นี่-
.
.
32
-คือความจริงแท้สูงสุดที่เปิดเผยอินเดีย. แม้แต่ระบบที่ประกาศตนว่าเป็นแบบคู่หรือทวิภาวะหรือพหุภาวะ ก็ดูเหมือนจะถูกแทรกซึมโดยคุณลักษณะอันแข็งแกร่งของเอกนิยม. หากว่าเราสามารถละทิ้งความคิดเห็นที่หลากหลายและสังเกตจิตวิญญาณทางความคิดของชนอินเดียทั่วไปแล้วไซร้ เราจะพบว่ามันมีแนวโน้มที่จะตีความชีวิตและธรรมชาติในหนทางแบบอุดมคติเอกนิยม (เชื่อว่ามีเพียงปัจจัย) แม้ว่าแนวโน้มนี้จะยืดหยุ่น มีชีวิตชีวา และหลากหลายก็ตาม จนมีหลายรูปแบบและแสดงออกในคำสอนถึงตัวเองที่เป็นปรปักษ์กันก็ตาม. เราอาจสรุปรูปแบบหลัก ๆ ที่อุดมคติเอกนิยมถือครองในความคิดของชนอินเดีย โดยละทิ้งการพัฒนารายละเอียดและการประมาณเชิงวิพากษ์. สิ่งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติและหน้าที่ของปรัชญาตามที่เข้าใจกันในอินเดีย. สำหรับวัตถุประสงค์ของเราอุดมคติเอกนิยมนั้น มีสี่ประเภท: (1) ไม่เป็นคู่นิยม หรือ อทไวตนิยม (2) เอกนิยมบริสุทธิ์ (3) เอกนิยมดัดแปลง และ (4) เอกนิยมโดยนัยหรือโดยปริยาย.
ภาพจากซ้ายไปขวา: ถ้ำโบราณทางพระพุทธศาสนาเอเลแฟนต้า (ก่อนที่จะถูกแปลงเป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) , มุมไบ, รัฐมหาราษฏระ, ภารตะ, แหล่งมรดกโลกยูเนสโก สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 3 หรือก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2, ที่มา: Facebook เพจ Ancient History of India, วันที่เข้าถึง 17 เมษายน 2564, และภาพผมกำลังถ่ายในถ้ำเอเลแฟนต้า เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2567.
1.
ปรัชญาจะดำเนินไปบนข้อเท็จจริงของประสบการณ์. การไตร่ตรองเชิงตรรกะนั้นนับเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าข้อเท็จจริงที่สังเกตเห็นโดยบุคคลใดนั้น เป็นที่ยอมรับของทุกคนหรือเป็นเพียงข้อเท็จจริงส่วนบุคคลเท่านั้น. ทฤษฎีจะได้รับการยอมรับ ก็ต่อเมื่อเมื่อทฤษฎีเหล่านี้อธิบายข้อเท็จจริงได้อย่างน่าพอใจ. เราได้กล่าวไปแล้วว่าเหล่านักคิดชนอินเดียได้ศึกษาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางด้านจิตใจหรือสติสัมปชัญญะด้วยความเอาใจใส่พินิจตรึกตรองมากพอ ๆ กับการที่นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของโลกภายนอก. ข้อสรุปทางปรัชญาของเอกนิยมแบบอทไวตะ01. นั้น อิงกับข้อมูลจากการสังเกตการณ์ทางจิตวิทยา.
กิจกรรมของตัวตนนั้น ถูกจัดอยู่ในสามสถานะ การตื่น การฝัน และการหลับที่ไร้ฝัน. ในความฝันนั้น โลกแห่งรูปธรรมที่แท้จริงจะปรากฎให้เราเห็น. เราไม่เรียกโลกนั้นว่าเป็นจริง เนื่องจากเมื่อตื่นขึ้นเราพบว่าโลกแห่งความฝันไม่สอดคล้องกับโลกที่ตื่น แต่เมื่อเทียบกับสถานะความฝันแล้ว โลกแห่งความฝันนั้นเป็นจริง. มันไม่ตรงกันกับมาตรฐานการใช้ชีวิตแบบตื่นของเราโดยทั่วไป และไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์เกี่ยวกับความจริงที่ดำรงอยู่ด้วยตัวมันเอง ที่บอกเราว่าสภาวะในฝันนั้นแม่นยำน้อยกว่าสภาวะการตื่นอยู่. แม้แต่ความจริงขณะตื่นอยู่ก็คือความสัมพันธ์. ไม่มีอยู่จริงถาวร เป็นเพียงความสัมพันธ์ของสถาวะตื่นเท่านั้น. ซึ่งมันก็อันตรธานไปในความฝันและการนอนหลับ. สติสัมปชัญญะขณะที่ตื่นขึ้นและโลกที่ได้เผยออกมานั้น มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอยู่ เช่นเดียวกับความจิตสำนึกแห่งฝันและ-
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เอกนิยมแบบอทไวตะ (Advaitic monism หรือ अद्वैत वेदान्त - Advaita Vedanta) แปลว่า "ความไม่แยก" หรือ "ความไม่เป็นสอง" เป็นสำนักปรัชญญาฮินดูที่ตั้งสมมติฐานมุมมองแบบเอกนิยมเกี่ยวกับความจริง โดยเน้นความเป็นหนึ่งเดียวของพรหมัน (ความจริงขั้นสูงสุด) และตัวตนของปัจเจกบุคคล (อาตมัน) โดยที่โลกถุกมองว่าเป็นภาพลวงตา (มายา).
.
.
33
-โลกแห่งความฝัน. มันไม่มีอะไรสมบูรณ์แท้ เพราะตามคำกล่าวของศังกราจารย์ ในขณะที่ “โลกแห่งความฝันถูกยกเลิกทุกวัน และโลกที่ตื่นอยู่ก็ถูกยกเลิกภายใต้สถานการณ์พิเศษ.” ในการนอนหลับที่ปราศจากความฝันนั้น เราได้หยุดการรับรู้ตามประสบการณ์. ปราชญ์ชาวอินเดียบางท่านมีความเห็นว่าเรามีสภาพจิตสำนึกที่ไร้ภววิสัย (ไร้สิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง หรือไร้ซึ่งเงื่อนไขที่เป็นความจริง). ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่า การหลับที่ไร้ฝันนั้นไม่ใช่การไม่มีอยู่อย่างสิ้นเชิง หรือ การปฏิเสธอย่างสมบูรณ์ถึงสมมติฐานที่ขัดแย้งกับการหวนระลึกถึงการนอนหลับผ่อนคลายอย่างมีความสุขในภายหลัง. เราอดไม่ได้ที่จะยอมรับว่าตัวตนนั้นยังคงมีอยู่ แม้ว่ามันจะสูญเสียประสบการณ์ทั้งหมดก็ตาม. ไม่มีวัตถุใดที่สัมผัสได้ และไม่มีสิ่งใดอยู่ได้ตราบเท่าที่มีการหลับสนิท. ตัวตนที่บริสุทธิ์ดูเหมือนจะไม่ได้รับผลกระทบจากแนวคิดที่ล่องลอยขึ้นและหลุดหายไป ซึ่งผุดขึ้นและสลายไปพร้อมกับอารมณ์เฉพาะ. “สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่เปลี่ยนไปท่ามกลางสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงและแปรเปลี่ยน ย่อมต่างไปจากสิ่งเหล่านั้น.”1 ตัวตนที่คงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงและเป็นหนึ่งเดียวตลอดการเปลี่ยนแปลงนั้น ล้วนต่างจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด. สภาวะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ตัวตน. “ตลอดหลายเดือน หลายปี และวัฏจักรน้อยใหญ่ ทั้งในอดีตและอนาคต จิตสำนึกที่เปล่งประกายภายในตนโดยลำพังนั้น ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเลย.”2 ความจริงอันไม่มีเงื่อนไขที่ซึ่งเวลาและอวกาศ พร้อมทั้งสสารวัตถุทั้งหมดนั้นมลายไป ถือเป็นความเป็นจริง. ตัวตนคือผู้ชมละครที่ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากแนวคิดของละครทั้งเรื่อง เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของการตื่น การฝัน และการหลับอย่างไม่สะทกสะท้าน. เราเชื่อมั่นว่ามีบางสิ่งในตัวเราที่นอกเหนือจากความปรีดาและความเศร้าโศก คุณธรรมและความชั่วร้าย ดีและเลว. ตัวตนที่ “ไม่มีวันตาย ไม่เคยเกิด-ไม่เกิด นิรันดร์ อมตะ สิ่งเก่ากาลนี้ไม่มีวันถูกทำลายให้วิบัติในร่างนี้เลย. หากผู้สังหารคิดว่าตัวเองสามารถฆ่าได้ หรือผู้ถูกสังหารคิดว่าตัวเองโดนฆ่าแล้วไซร้ แต่เข้าทั้งสองหารู้ความจริงไม่ เพราะตัวเองไม่ได้สังหารหรือถูกสังหาร.”3
พระมูรติแห่งอาทิ ศังกราจารย์ ที่เกทารนาถมนเทียร (Kedarnath Mandir) อันที่วัดที่ท่านใช้ทำสมาธิ, เกทารนาถ ภารตะ, ที่มา: en.wikipedia.org, วันที่เข้าถึง: 30 มีนาคม 2568.
1.
นอกเหนือจากตัวตนที่เหมือนกันตลอดกาลแล้ว เรายังมีวัตถุต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายให้เห็นประจักษ์อีกด้วย. วัตถุแรกเป็นสิ่งถาวร ไม่เปลี่ยนรูป วัตถุหลังนั้นไม่คงอยู่และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา. วัตถุแรกนั้นแน่นอน ไม่ขึ้นอยู่กับวัตถุทั้งหมด. วัตถุหลังนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์.
---------------
1. “येशु व्यावर्तमानेषु यद अनुवर्तते तत् तेभ्यो भिन्नम् - Yeṣu vyāvartamāneṣu yad anuvartate tat tebhyo bhinnam - สิ่งที่ตามมาเมื่อพระเยซูเสด็จกลับแตกต่างไปจากพวกเขา” (ภามตี01).
2. ปัญจทศี (पञ्चदशी - Pañcadaśī - วันที่สิบห้าของเดือนมาฆะซึ่งเหมาะแก่การสวดมนต์), i. 7.
3. กถะ อุปนิษัท (รายละเอียดดูในหน้าที่ 8 ของ อุปนิษัท: สรุปสาระสำคัญ), บรรพที่ 2. อัธยายะที่ 18-19; ภ.ค., บรรพที่ 2. อัธยายะที่ 19-20.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ภามตี (भामती - Bhāmatī) เป็นคำวิจารณ์หรือฏิกา (टीका - Ṭīkā) เกี่ยวกับพรหมสูตร ภาสยะ (ब्रह्मसूत्रभाष्य - Brahma-sūtra-bhāsya) ของ อาทิ ศังกราจารย์ โดยฤๅษีวากัสปตี มิศระ (वाचस्पति मिश्र - Vāchaspati Miśra) (รายละเอียดดูใน หน้าที่ 2 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ), นอกจากนี้ยังเป็นชื่อสำนักปรัชญาย่อยของปรัชญาอทไวตะ เวทานตะ.
.
.
34
แล้วเราจะอธิบายโลกอย่างไรดี. ความหลากหลายเชิงประจักษ์นั้นปรากฏในขอบอวกาศหรือช่องว่าง เวลา และเหตุ (ปัจจัย). หากตัวตนเป็นหนึ่งเดียว สากล ไม่เปลี่ยนรูป เราก็จะพบว่าในโลกนี้มีรายละเอียดมากมายที่มีคุณลักษณะตรงกันข้าม. เราสามารถกล่าวได้ว่านี่มันไม่ใช่ตัวตน มันเป็นวัตถุในประเด็นเนื้อหาเท่านั้น. ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม มันไม่มีจริง. หมวดหมู่หลัก ๆ ในโลกแห่งประสบการณ์ เวลา ช่วงว่าง และเหตุปัจจัย ล้วนมีความขัดแย้งในตัวเอง. สิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง. ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีอยู่. โลกอยู่ที่นั่น และเราทำงานอยู่ในนั้นแล้วก็ผ่านมันไป. เราไม่รู้และไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุใดโลกนี้จึงมีอยู่จริง. นี่คือข้อเท็จจริงของการดำรงอยู่ที่อธิบายไม่ได้นี้เองที่คำว่า มายา สื่อถึง. การถามว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนที่แท้จริงกับการเปลี่ยนแปลงตามประสบการณ์คืออะไร การถามว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น มีสองประการ คือ สมมติว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุมีที่มาและวิธีการ. การที่จะบอกว่าสิ่งที่เป็นอนันต์ได้กลายเป็นสิ่งที่มีขอบเขต หรือแสดงตัวออกมาว่าเป็นสิ่งที่มีขอบเขตนั้น นับเป็นเรื่องที่ไร้สาระยิ่ง. สิ่งที่มีขีดจำกัดไม่สามารถแสดงหรือประกาศตนว่ามีขีดจำกัดได้. ขณะที่ผู้ที่ไม่มีขีดจำกัดประกาศตนว่าเขาไม่มีขีดจำกัดแล้วไซร้ เขาก็จะกลายเป็นผู้มีขีดจำกัดนั่นเอง. การกล่าวว่าสิ่งที่แน่นอนนั้นเสื่อมถอยหรือเสื่อมถอยไปเป็นประสบการณ์นั้น ขัดแย้งกับความแน่นอนของมันเอง. ไม่มีความบกพร่องใดที่จะมาถึงสิ่งที่สมบูรณ์แบบได้. ไม่มีความมืดมิดใดที่จะอยู่ในแสงสว่างที่สมบูรณ์แบบได้. เราไม่สามารถยอมรับได้ว่าพระผู้สูงส่งนั้น ผู้ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้ถูกจำกัดด้วยความเปลี่ยนแปลงได้. การเปลี่ยนแปลงหมายถึงความปรารถนาหรือรู้สึกถึงความต้องการ และแสดงให้เห็นถึงการขาดความสมบูรณ์แบบ. สิ่งที่แน่นอนไม่สามารถกลายเป็นวัตถุแห่งความรู้ได้ เพราะสิ่งที่เรารู้นั้นมีขอบเขตจำกัดและสัมพันธ์กัน. จิตใจอันมีขีดจำกัดของเรานั้น ไม่สามารถก้าวข้ามขอบเขตของเวลา ช่องว่าง และเหตุปัจจัยได้ หรือสิ่งที่เราไม่สามารถอธิบายได้ เนื่องจากความพยายามในการอธิบายสิ่งเหล่านี้ (สิ่งที่แน่นอน) ทุกครั้งล้วนถือเอาสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐาน. ด้วยการผ่านความคิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกสัมพัทธ์นั้น เราก็ไม่สามารถรู้จักตัวตนที่แท้จริงได้. ประสบการณ์สัมพันธ์ของเราเป็นเพียงการฝันในขณะที่ตื่นอยู่. วิทยาศาสตร์และตรรกะก็เป็นส่วนหนึ่งของมัน (ความคิด) และเป็นผลผลิตของมันด้วย. ความล้มเหลวของอภิปรัชญานี้จะไม่ควรจะร้องไห้หรือหัวเราะเยาะ หรือไม่ควรได้รับการยกย่องหรือตำหนิ แต่ก็ควรทำความเข้าใจ. ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอันน่าประทับใจที่เกิดจากความเข้มแข็งทางปัญญาของทั้ง เพลโต01. หรือ นาครชุน02. ค้านท์03. หรือ ศังกราจารย์ ต่างประกาศว่าความคิดของพวกเรานั้นเกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับสิ่งสัมบูรณ์.
แม้สภาวะอันเป็นสัจธรรมนั้น จะไม่เป็นที่รู้จักในทางตรรกะ แต่ผู้ที่พยายามดิ้นรนค้นหาความจริงทุกคนยังคงตระหนักรู้ถึงสภาวะอันเป็นสัจธรรมนั้นได้-
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เพลโต (Πλάτων - Plato) รายละเอียดดูใน A12. เพลโต.
02. นาครชุน หรือ นาคารชุนะ (नागार्जुन - Nāgārjuna) รายละเอียดดูในหน้าที่ 5 ของ พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 1.
03. ค้าน (อิมมานูเอล ค้านท์ - Immanuel Kant) รายละเอียดดูใน D05. อิมมานูเอล ค้านท์.
1.
2.
35
-ความเป็นจริงที่โป้ปดเรา เคลื่อนไหว และดำรงอยู่. มีเพียงสิ่งนี้เท่านั้นที่ทำให้เรารู้จักสิ่งอื่นได้. นี่คือพยานอันนิรันดร์ขององค์ความรู้ทั้งหมด. เหล่าผู้ที่เชื่อว่าไม่มีปัจจัยที่เป็นคู่ (ไม่เป็นคู่นิยมหรือทวิลักษณ์) แย้งว่าทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนตรรกะของข้อเท็จจริง. ตัวตนนั้นเป็นความจริงที่ล้ำลึกที่สุดที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ เนื่องจากเป็นตัวตนของสิ่งที่รู้จักและไม่รู้จัก และไม่มีผู้รู้ใดที่จะรู้มันได้นอกจากตัวมันเอง. มันคือความจริงแท้และความเป็นนิรันดร์ และไม่มีสิ่งใดนอกเหนือไปจากมัน. ส่วนผลที่ตามมาในเชิงประจักษ์ซึ่งมีอยู่ด้วยนั้น ผู้ที่เชื่อว่าไม่มีปัจจัยที่เป็นคู่ (ทวิภาวะ) กล่าวว่ามีอยู่จริง และนี่เป็นจุดจบของมัน. เราไม่รู้และไม่สามารถรู้ได้ว่าเพราะเหตุใด ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเอง แต่ก็เกิดขึ้นจริง. นี่คือจุดยืนทางปรัชญาของอทไวตะหรือทวิภาวะ ที่ฤๅษีเคาฑปาทะ01. และศังกราจารย์ได้หยิบยกขึ้นมา.
คุรุ เคาฑปาทะ อาจารย, ที่มา: vanamalaarts.org, วันที่เข้าถึง: 25 เมษายน 2564.
.
มีพวกอทไวติน02. ที่ไม่พอใจกับมุมมองนี้ และรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ที่จะปกปิดความสับสนของของเราด้วยการใช้คำว่ามายา. พวกเขาพยายามให้คำอธิบายเชิงบวกมากขึ้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่สมบูรณ์แบบที่ปราศจากสิ่งเชิงลบอย่างสิ้นเชิง กับสิ่งที่เป็นจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งรู้สึกได้จากประสบการณ์ส่วนลึกและโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเกิดขึ้น. เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของความจริงแท้หนึ่งเดียวนี้ไว้ เราจำเป็นต้องกล่าวว่าโลกแห่งการเป็นขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากการเพิ่มองค์ประกอบใด ๆ จากภายนอก เนื่องจากไม่มีสิ่งใดอยู่ภายนอก. มันสามารถเกิดขึ้นได้จากการลดลงเท่านั้น. สิ่งที่เป็นลบบางอย่างเช่น การไม่มีอยู่จริงของเพลโต03 หรือเรื่องสสารของอริสโตเติล04 ถือเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง. ด้วยการใช้หลักการเชิงลบนี้ ดูเหมือนว่าสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงจะแพร่กระจายออกไปในกลุ่มที่เคลื่อนไหว. ลำแสงที่ส่องออกมาจะพระอาทิตย์ ไม่ประกอบด้วยลำแสงเหล่านั้น. มายาเป็นชื่อของหลักการเชิงลบที่ปล่อยให้ความเป็นสากลหลุดลอยออกไป ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนที่ไม่สิ้นสุดและความไม่สงบตลอดกาล. การเคลื่อนไหลของจักรวาลเกิดจากการเสื่อมถอยอย่างเห็นได้ชัดของสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง. สิ่งที่เป็นจริงเป็นตัวแทนของสิ่งที่เป็นบวกทั้งหมดที่เกิดขึ้น. สิ่งต่าง ๆ ในโลกต่างดิ้นรนที่จะฟื้นคืนความเป็นจริงของมัน เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไป สลัดความเป็นปัจเจกและความแยกจากกันออกไป แต่ก็ถูกขวางไม่ให้ทำเช่นนั้นเพราะความว่างเปล่าภายในของมัน ซึ่งก็คือมายาเชิงลบที่ก่อตัวขึ้นจากช่วงห่างระหว่างสิ่งมันเป็นกับสิ่งที่ควรจะเป็น. หากเรากำจัดมายาลงเสีย ระงับความโน้มเอียงที่จะเกิดควาแตกแยก ยกเลิกช่วงเวลา เติมเต็มส่วนที่ขาด และปล่อยให้ความวุ่นวายได้ผ่อนคลาย ช่องว่าง เวลา และการเปลี่ยนแปลง จะกลับคืนสู่-
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ฤๅษีเคาฑปาทะ (गौडपाद - Gauḍapāda) รายละเอียดดูในหน้าที่ 2 ของ 02B. บรรดาเหล่าปราชญ์ภารตะ.
02. อทไวติน (अद्वैतिन् - Advaitin) หมายถึง ผู้ไม่มีทวินิยม หรือ ผู้ที่เชื่อว่าไม่มีปัจจัยที่เป็นคู่ ซึ่งนับถือ อาทิ ศังกราจารย์.
03. เพลโต (Plato) รายละเอียดดูใน A12. เพลโต.
04. อริสโตเติล (Aristotle) รายละเอียดดูใน A13. อริสโตเติล.
.
.
36
-สภาวะที่บริสุทธิ์. ตราบใดที่ความไม่เพียงพอของมายาเดิมยังคงมีอยู่ สิ่งต่าง ๆ ก็ถูกตัดสินให้ดำรงอยู่ในโลกแห่งช่องว่าง-เวลา-เหตุปัจจัย. มายาไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น. มันเกิดขึ้นก่อนภูมิปัญญาของเรา และเราก็เป็นอิสระจากมัน. แท้จริงแล้วมันเป็นผู้สิ่งต่าง ๆ และภูมิปัญญา ศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของโลกทั้งใบ. บางครั้งเราเรียกมันว่าปรกฤติ01. การสลับกันของการเกิดและการสลายผุพังนั้น เป็นวิวัฒนาการของจักรวาลที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ล้วนแสดงถึงความขาดตกบกพร่องพื้นฐานที่ประกอบขึ้นเป็นโลก. โลกแห่งการเป็นคือการหยุดชะงักของการดำรงอยู่. มายาเป็นภาพสะท้อนของความเป็นจริง. กระบวนการของโลกไม่ใช่การแปลความหมายของการดำรงอยู่ที่ไปเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เป็นการกลับด้านของมัน. โลกแห่งมายาก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากจากดำรงอยู่ที่บริสุทธิ์. หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่มีการเคลื่อนไหว เพราะความเคลื่อนไหวเป็นเพียงการลดทอนสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง. ความจริงแท้ของการเคลื่อนไหวสากลนั้น คือสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว.
ความเป็นคือความหลุดพ้นจากการเป็นอยู่ อวิชชาหรือความไม่รู้ก็เช่นกัน คือการตัดขาดจากวิชชาหรือองค์ความรู้. เพื่อรู้ความจริง เข้าใจความจริง เราต้องขจัดอวิชชาและตัวแบบแห่งภูมิปัญญาของมัน ซึ่งตัวแบบทั้งหมดนี้ได้จะแตกสลาย เมื่อเราพยายามยัดเยียดความจริงเข้าไปในตัวแบบของมัน. นี่ไม่ใช่ข้อแก้ตัวสำหรับความเฉื่อยชาทางความคิด. ปรัชญาในฐานะตรรกะในมุมมองนี้ ได้ชักชวนให้เรายกเลิกใช้แนวคิดทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับความต้องการในทางปฏิบัติของเราและโลกแห่งการบังเกิดขึ้น. ปรัชญาได้บอกเราว่า ตราบใดที่เราถูกผูกมัดด้วยภูมิปัญญาและติดหลงอยู่ในโลกท่ามกลางเหล่าผู้คนแล้วไซร้ กลายเป็นว่าเราก็จะพยายามกลับไปสู่ความง่าย ๆ ดาษดื่น (วนอยู่ในสังสารวัฏ) ของโลกอย่างไร้ประโยชน์. หากเราถามเหตุผลว่าทำไมจึงมีอวิชชาหรือมายา ซึ่งนำมาสู่การตกต่ำจากวิชชาหรือจากการเป็น คำถามนี้ไม่สามารถตอบได้. ปรัชญาในฐานะที่เป็นตรรกะซึ่งมีหน้าที่ในเชิงลบในการเปิดเผยความไม่เพียงพอของหมวดหมู่แห่งภูมิปัญญาทั้งหมด โดยชี้ให้เห็นว่าวัตถุของโลกสัมพันธ์กับจิตที่ครุ่นคิดถึงมัน และไม่มีอยู่จริง. มันไม่สามารถบอกเราได้แน่ชัดเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่เปลี่ยนรูปที่กล่าวว่ามีอยู่แยกจากสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก. หรือเกี่ยวกับมายาซึ่งมันได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดโลก. มันไม่สามารถช่วยให้เราบรรลุถึงความเป็นจริงได้โดยตรง. หากมองในแง่อื่นแล้ว มันบอกเราว่าการจะวัดความจริงได้นั้น เราจำต้องบิดเบือนมัน. บางทีมันอาจตอบสนองถึงประโยชน์ของความจริงเมื่อมีตรวจสอบอย่างอิสระแล้ว. เราสามารถคิดหาเหตุผล
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. ปรกฤติ (प्रकृति - Prakṛti) ดูในหมายเหตุ คำอธิบาย หน้าที่ 25 ของ ง. บทนำ: ภควัทคีตา.
.
.
37
ปกป้องมันอย่างมีเหตุผลและช่วยในการเผยแพร่มัน. ผู้ที่สนับสนุนเอกนิยมบริสุทธิ์ (ความเชื่อที่ว่ามีเพียงปัจจัย) รับรู้ถึงพลังที่สูงส่งกว่าภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม ซึ่งทำให้เราสัมผัสได้ถึงแรงผลักดันของความเป็นจริง. เราต้องจมดิ่งอยู่ในจิตสำนึกสากลและทำให้ตัวเองอยู่ร่วมกับทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่. เราไม่ได้คิดถึงความเป็นจริงมากเท่ากับใช้ชีวิตตามความเป็นจริง. เฉกเช่นชาวเอกนิยมสุดโต่ง มันมีความแตกต่างของระหว่างตรรกะกับสัญชาตญาณ ความจริงแท้และโลกแห่งการดำรงอยู่ ที่เราพบในอุปนิษัทบางเล่ม นาคารชุน01 และศังกราจารย์ในอารมณ์เชิงปรัชญาสุดล้ำ ศรีหรรษะ02 และเหล่าอทไวตะ เวทานติน เสียงสะท้อนนี้ได้ยินก้องไปถึงพาร์มีนิเดส03 และเพลโต04 สปิโนซา05 และพลอทินัส06 แบรดลีย์07 และแบร์กซอน08. โดยไม่จำต้องกล่าวถึงเรื่องลี้ลับทางตะวันตก.1
ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะบริสุทธิ์และเรียบง่ายเพียงใด ก็อาจจะเป็นไปตามสัญชาตญาณ ตามภูมิปัญญา สิ่งมีชีวิตเป็นเพียงสิ่งนามธรรมโดยสิ้นเชิงเท่านั้น. สิ่งมีชีวิตนี้ควรจะดำเนินต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงและรูปแบบแห่งการดำรงอยู่ทั้งหมดถูกยกเลิกไป. มันเป็นสิ่งตกค้างที่ทิ้งไว้เบื้องหลัง เมื่อนามธรรมสาระสังเขปได้ถูกสร้างขึ้นจากโลกทั้งใบ. ในความคิดของมนุษย์แล้ว มันเป็นแบบฝึกหัดที่ยากที่จะละทิ้งทะเล และโลก ผลรวมและหมู่ดาว อวกาศ และเวลา มนุษย์ และพระผู้เป็นเจ้า. เมื่อมีความพยายามที่จะล้มล้างทั้งจักรวาลทั้งหมด และล้มล้างการมีอยู่ทั้งหมด ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรเหลือให้คิดอีกต่อไป. ความคิดซึ่งมีขอบเขตและมีความสัมพันธ์กัน จักได้พบกับความสิ้นหวังอย่างที่สุดว่า ไม่มีอะไรเลยเมื่อทุกสิ่งที่มีอยู่ถูกล้มล้างไป. สำหรับจิตใจที่มีแนวคิดหลักการสำคัญของสัญชาตญาณที่ว่า “มีอยู่เท่านั้น” หมายถึงว่าไม่มีอะไรเลย. ตามที่เฮเกล09 ได้กล่าวไว้ สามารถใช้ได้กับความจริงที่แน่นอนเท่านั้น ซึ่งก็คือสิ่งที่เป็นรูปธรรม.ในทางกลับกัน การยืนยันทั้งหมดก็หมายถึงการปฏิเสธ. สิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดล้วนเป็นสภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่ ทั้งบวกและลบ. ดังนั้นผู้ที่ไม่พึงใจกับชีวิตที่หยั่งรู้ และปรารถนาที่จะเกิดการสังเคราะห์อันบรรลุได้ด้วยความคิดซึ่งมีสัญชาตญาณตามธรรมชาติสำหรับรูปธรรมอันมั่นคง จึงถูกดึงดูดเข้าสู่ระบบอุดมคติเชิงภววิสัย (อุดมคติที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง). นักอุดมคติที่เน้นความเป็นรูปธรรมพยายามรวบรวมแนวคิดสองประการของการดำรงอยู่อันบริสุทธิ์
---------------
1 ในปรัชญาสางขยะนั้น เราแทบจะมีคำอธิบายกับโลกแห่งประสบการณ์ที่เหมือนกัน ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ความบริสุทธิ์ของตัวตนที่เป็นพยานแปดเปื้อนแม้แต่น้อย. มีเพียงแต่อคติแบบพหุนิยมซึ่งไม่มีพื้นฐานทางตรรกะเท่านั้นที่ยืนยันตัวเอง และเรามีจิตวิญญาณหลายดวง. เมื่อพหุนิยมล่มสลาย เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในสัมผัสแรกแห่งตรรกะ ทฤษฎีสางขยะก็กลายเป็นสิ่งที่เหมือนกับเอกนิยมอันบริสุทธิ์ที่ร่างไว้ที่นี้.
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. นาครชุน หรือ นาคารชุนะ (नागार्जुन - Nāgārjuna) รายละเอียดดูในหน้าที่ 5 ของ พระพุทธศาสนา มหายานนิกาย บทที่ 1.
02. ศรีหรรษะ (श्रीहर्ष - Śrī Harṣa) - ท่านมีชีวิตโลดแล่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 12 คุรุท่านนี้ได้ประพันธ์ คาณฑนะ-คาณฑะ-คาทยะ (खण्डना-खण्ड-खाद्य - Khaṇḍana-khaṇḍa-khādya -Sweets of Refutation - ขนมแห่งการหักล้าง) ซึ่งถือเป็นผลงานที่ยากที่สุดชิ้นหนึ่งในลัทธิอทไวตะ-เวทานตะ (अद्वैत-वेदान्त - Advaita-Vedanta) ความยากลำบากนี้เกิดขึ้นบางส่วนเนื่องมาจากการใช้แนวทางวิภาษวิธีเชิงทำลายล้างอย่างกว้างขวางเพื่อทำลายล้างทัศนะแบบทวิลักษณ์ และบางส่วนเนื่องมาจากโครงสร้างภาษาสันสกฤตที่ซับซ้อน ผลงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาคือไนศาท-จาริตะ (नैशाद-चरिता - Naiśāda-carita) ซึ่งอิงจากเรื่องราวของพระนลคำฉันท์ - พระนล (नल - Nala) และนางทมยันตี (दमयन्ती - Damayanti).
03. พาร์มีนิเดส (Parmenides) รายละเอียดดูใน A07. พาร์มีนิเดส.
04. เพลโต (Plato) รายละเอียดดูใน A12. เพลโต.
05. เบเนติกตุส สปิโนซา (Benedictus Spinoza) รายละเอียดดูใน C07. เบเนดิกตุส สปิโนซา.
06. พลอทินัส (Plotinus) - ท่านมีชีวิตโลดแล่นในโลกปรัชญาราว พ.ศ.747-8 - 813 (ค.ศ.204/5 – ค.ศ.270) นักปรัชญาแนวเพลโตนิสต์ชาวกรีกซึ่งเกิดและเติบโตในอียิปต์ยุคโรมัน พลอตินัสได้รับการยกย่องจากนักวิชาการสมัยใหม่ว่าเป็นผู้ก่อตั้งนีโอเพลโตนิสม์ ครูของท่านคือแอมโมเนียส ซัคคัส นักปรัชญาที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสมาชิกของนิกายเพลโตนิสม์ นักประวัติศาสตร์ในพุทธศตวรรษที่ 24 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 19 คิดค้นคำว่า "นีโอเพลโตนิสม์" และนำมาใช้เพื่ออ้างถึงพลอตินัสและปรัชญาของท่าน ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในช่วงปลายยุคโบราณ ยุคกลาง และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ข้อมูลชีวประวัติของพลอตินัสส่วนใหญ่มาจากคำนำของพอร์ฟิรีในฉบับของท่านเกี่ยวกับงานวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของพลอตินัสเรื่อง The Enneads ในงานเขียนเชิงปรัชญาของท่าน พลอตินัสได้บรรยายหลักการพื้นฐานสามประการ ได้แก่ ความเป็นหนึ่งเดียว ปัญญา และวิญญาณ. ผลงานของท่านเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักปรัชญาและนักลึกลับทั้งนอกรีต ยิว คริสเตียน โนสติก (Gnostic) และลัทธิทะเลทรายยุคแรกหลายศตวรรษ รวมถึงการพัฒนาหลักคำสอนที่ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดทางเทววิทยาหลักภายในศาสนา เช่น งานของท่านเกี่ยวกับความเป็นคู่ของหนึ่งสองในสถานะทางปรัชญาสองสถานะ.
07. ฟรานซิส เฮอร์เบิร์ต แบรดลีย์ (Francis Herbert Bradley) - ท่านเป็นนักปรัชญาอุดมคตินิยมชาวอังกฤษ (30 ม.ค.2389 - 18 ก.ย.2467) งานที่สำคัญของท่านคือ Appearance and Reality.
08. อังรี แบร์กซอน (Henri Bergson) – นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ในปี พ.ศ. 2470.
09. เกออร์ก เฮเกล (Georg Hegel) รายละเอียดดูใน D11. เกออร์ก เฮเกล.
1.
2.
38
และการปรากฎชัดในความสังเคราะห์เดียวของพระผู้เป็นเจ้า. แม้แต่ชาวเอกนิยม (เชื่อว่ามีเพียงปัจจัยเท่านั้น - ผู้ที่ยึดมั่นในหลักเอกภาพ) อย่างสุดโต่งก็ยอมรับว่าการเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับการมีอยู่ ในทางกลับกัน แม้ว่าจะไม่ใช่ก็ตาม. ขณะนี้เราได้สิ่งที่เรียกว่าความสมบูรณ์ของการหักเหแสง พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีความเป็นไปได้ของโลกในตัวพระองค์เอง ทรงรวมเอาแก่นแท้ของการมีอยู่ทั้งหมดและการเกิดขึ้นไว้ในธรรมชาติของพระองค์ ซึ่งรวมถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความหลากหลาย ความไม่มีขีดจำกัด และข้อจำกัด. ขณะนี้ชีวิตที่บริสุทธิ์กลายเป็นอัตวิสัยหรืออัตตา เปลี่ยนตนเองสู่วัตถุหรือเป้าหมายแล้วคืนกลับไปเป็นอัตวิสัย เปลี่ยนรูปตนเอง. ตำแหน่ง การต่อต้าน และองค์ประกอบ ที่ใช้ในสำนวนแบบพวกนิยมเฮเกล (เฮเกเลียน)01. ได้ดำเนินไปยังกระบวนการหมุนเวียนชั่วนิรันดร์ (วัฏสงสาร). เฮเกลรับรู้อย่างถูกต้องว่าเงื่อนไขต่าง ๆ ของโลกที่เป็นรูปธรรมทั้งอัตวิสัยและภววิสัย. เป็นสิ่งตรงข้ามทั้งสองนี้หลอมรวมอยู่ในสรรพสิ่งที่เป็นรูปธรรมทุกอย่าง. พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่มีสองตัวละครที่มีบทบาทปรปักษ์กัน โดยที่ตัวที่หนึ่งไม่เพียงแต่เปลี่ยนผ่านอีกตัวหนึ่งเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วก็เป็นอีกตัวหนึ่งด้วย. เมื่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีพลวัตได้ผูกมัดพระองค์ไว้กับวงล้อที่หมุนไปชั่วนิรันดร์ซึ่งพระองค์ได้ยืนกรานเช่นนี้ ระดับการดำรงอยู่ทั้งหมด ตั้งแต่ความสมบูรณ์แบบอันศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงฝุ่นธุลีอันชั่วร้าย จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ. การยืนยันถึงพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นการยืนยันทุกระดับของความจริงแท้ระหว่างระหว่างพระองค์กับความว่างเปล่า. ตอนนี้เรามีจักรวาลแห่งความคิดที่สร้างขึ้นมาโดยความคิด การตอบสนองต่อความคิด และค้ำจุนด้วยความคิด ซึ่งทั้งอัตวิสัยและภววิสัยถูกดูดซับไว้เป็นช่วงเวลา. ความสัมพันธ์ของช่องว่าง เวลา และเหตุปัจจัยนั้น หาใช่เป็นรูปแบบเชิงอัตวิสัยใด ๆ แต่เป็นหลักการสากลแห่งความคิด. หากเราไม่สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างเอกลักษณ์และความแตกต่างตามมุมมองของเอกนิยมอย่างแท้จริงได้ เรา ณ ขณะนี้ก็อยู่ในจุดที่ดีกว่า. โลกคืออัตลักษณ์ที่ได้แยกตัวออกจากความแตกต่าง. ทั้งสองไม่แยกตัวออกจากกัน พระผู้เป็นเจ้าผนึกอยู่ในพื้นฐานภายใน เป็นรากฐานของอัตลักษณ์ โลกคือการประกาศก้องสู่ภายนอก เป็นการแสดงออกภายนอกของจิตสำนึกในตนเอง.
พระผู้เป็นเจ้าเช่นนีเ ตามทฤษฎีของเอกนิยมอันบริสุทธิ์นั้น เป็นเพียงการหลุดพ้นจากสภาวะอันสมบูรณ์ โดยมีช่วงเวลาที่น้อยที่สุดที่นึกออกได้คั่นพระองค์จากสภาวะอันบริสุทธิ์หรือสภาวะอันสมบูรณ์. มันคือผลผลิตของอวิชชาในระดับที่นึกออกได้น้อยที่สุด. กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าอันมีรูปธรรมสูงส่งนั้น เป็นผลผลิตขั้นสูงสุดของภูมิปัญญาเรา. น่าเสียดายที่ท้ายที่สุดแล้ว มันเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ และสติปัญญาของเรานั้น แม้จะใกล้เคียงกับวิชชามากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังไม่ใช่วิชชา. พระผู้เป็นเจ้านั้นมีความสูงสุดในตัวและมี
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. เฮเกลเลียน (Hegelian) หมายถึงบรรดาผู้นิยมแนวคิดของเฮเกล (Gerog Wilhelm Friedrich Hegel) ผู้ซึ่งมีแนวคิดแบบจิตนิยม (idealism) แนวคิด Hegelian นี้มาจากผลงานอันโดดเด่นเรื่อง วิภาษวิธีของนายกับทาส (master–slave dialectic) ของท่านมีความสำคัญอย่างมากต่อความคิดของปัญญาชนฝรั่งเศสในพุทธศตวรรษที่ 25 หรือ คริสต์ศตววรษที่ 20 ใจความสำคัญของปรัชญาแบบเฮเกลคือความคิดเรื่องจิตหรือจิตวิญญาณ (Geist หรือบางครั้งแทนด้วยคำว่า mind) ในฐานะที่จิตวิญญาณจะแสดงตัวตนออกในรูปของประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งดำเนินการไปบนหลักการของวิภาษวิธีหรือหลักคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีความขัดแย้งระหว่างบทตั้งต้น (thesis) กับบทแย้ง (antithesis) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ใหม่หรือบทสรุป (synthesis) ปรับปรุงจาก th.wikepedia.org เมื่อ 18 เมษายน 2568.
1.
2.
39
ข้อบกพร่องน้อยที่สุด-แต่ยังคงเป็นข้อบกพร่อง. สัมผัสแรกของมายา การลดลงแม้เพียงเล็กน้อยของสภาวะอันบริสุทธิ์ ก็เพียงพอที่จะขว้างมันไปสู่อวกาศและเวลา แม้ว่าอวกาศและเวลานั้นดูจะใกล้เคียงกับความไม่ขยายและความเป็นนิรันดร์อย่างแท้จริงมากที่สุดก็ตาม. ความเป็นหนึ่งเดียวอย่างแท้จริงถูกแปลงเป็นพระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างซึ่งสถิตอยู่ในอวกาศใดอวกาศหนึ่ง เคลื่อนย้ายสรรพสิ่งทั้งหลายจากภายใน โดยไม่เคลื่อนไหวจากสถานที่ที่พระองค์สถิต. พระผู้เป็นเจ้าคือสิ่งสมบูรณ์แบบที่ถูกทำให้เป็นเป็นบางสิ่งบางแห่ง เป็นดวงวิญญาณที่ผลักดันตนเองเข้าสู่ทุกสรรพสิ่ง. พระองค์คือผู้เป็น-ไม่มี-มีอยู่ พราหมณ์-มายา อัตวิสัย-ภววิสัย พลังนิรันดร์ ผู้เคลื่อนโดยไม่ได้เคลื่อนไหวใด ๆ ของอริสโตเติล ดวงวิญญาณสมบูรณ์ของเฮเกล วิศิษฎาทไวตะ เวทานตะ01 (สัมพัทธ์สัมบูรณ์) ของศรีรามานุชาจารย์02 และปัจฉิมเหตุปัจจัยของการปลุกพละกำลังของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด. เป็นธรรมชาติอันสำคัญยิ่งของพระองค์ที่จะต้องเผชิญกับความไม่สงบ.
ศรีรามานุชาจารย์, เป็นผู้นำปรัชญา "วิศิษฎาทไวตะ" และเป็นผู้นำที่สำคัญของลัทธิศรีไวษณพ สัมประไดย03 , ที่มา: en.wikipedia.org/wiki/Ramanuja, วันที่สืบค้น 6 พ.ค.2560.
1.
ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นแนวคิดขั้นสูงสุด ที่ความคิด (ของปุถุชนทั่วไป) สามารถบรรลุได้. หากเราปฏิบัติตามการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติแห่งภูมิปัญญาของเรา ซึ่งพยายามผนวกรวมสิ่งต่าง ๆ ของโลกและสังเคราะห์สิ่งตรงข้ามเข้าด้วยกันจนสุด หลักการแห่งการอธิบายซึ่งไม่ใช่สิ่งที่บริสุทธิ์หรือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นการรวมทั้งสองเข้าด้วยกัน นั่นคือสิ่งที่เราจะได้. แนวคิดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยการบีบอัดทุกสรรพสิ่งให้กลายเป็นองค์รวม. ปรัชญาในมุมมองนี้มีลักษณะที่สร้างสรรค์ และมีธรรมชาติที่เป็นบวกและสังเคราะห์ในหน้าที่ของมันเอง. แม้ในที่นี้ความเข้าใจเชิงตรรกะที่เล่นกับนามธรรม ก็ยังปิดกั้นเราจากความเป็นจริงที่ความคิดนามธรรมดำรงอยู่ เคลื่อนไหว และเป็นอยู่. ความคิดในฐานะเป็นเหตุเป็นผล เอาชนะความยากลำบากในการทำความเข้าใจเชิงตรรกะได้. เริ่มต้นจากโลกแห่งประสบการณ์ เราได้ก้าวไปสู่หลักการสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า และจากแนวคิดของทั้งองค์รวมที่เราได้มา เราก็จะลงลึกในรายละเอียดและทบทวนแต่ละส่วน. ความดื้อรั้นในแนวคิดเชิงตรรกะทั้งหมด ที่เชื่อมั่นในพลังแห่งความคิดนั้น จะจบลงด้วยแนวคิดของโลกนี้. ความยุ่งยากจักบังเกิดขึ้นหากเราสงสัยในความคิดที่สมบูรณ์แน่นอน บางทีความรู้ของเราอาจจะไม่สัมพันธ์กับข้อกำหนดของจิตใจที่เป็นทั้งรวมและแบ่งแยกกันหรือเปล่า. บางทีสำหรับจิตใจที่มีรูปร่างแตกต่างกัน ความรู้อาจแตกต่างไปจากสิ่งที่มันเป็นอยู่. องค์ความรู้ในปัจจุบันขณะของเรา ทำให้เราคิดว่าความรู้ทั้งหมดอาจเป็นประเภทนี้ดังนี้ แต่ครั้นเมื่อมีผู้วิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งยืนยันขึ้นมาบ้าง
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. วิศิษฎาทไวตะ เวทานตะ (विशिष्टाद्वैत वेदान्त - Viśiṣṭādvaita Vedānta) เป็นสำนักย่อยของลัทธิเวทานตะ (เมื่อพิจารณาตามตัวอักษร คือ จุดสิ้นสุดหรือเป้าหมายแห่งความรู้ในภาษาสันสกฤต - End or the goal of knowledge) ของปรัชญาฮินดู สำนักย่อยที่สำคัญอื่น ๆ ของเวทานตะ ได้แก่ อทไวตะ (अद्वैत - Advaita - ปรัชญาที่ไม่เป็นทวิภาวะ) ทไวตะ (द्वन्द्व - Dvaita - ปรัชญาที่เป็นทวิภาวะ) และอจินตยะ-ภเฑท-อภิตะ (अचिन्त्यभेदाभेद - Achintya-Bheda-Abheda)04. วิศิษฏาทไวตะ (विशिष्टाद्वैत - Viśiṣṭādvaita) (ตามตัวอักษร คือ "อทไวตะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณสมบัติ") เป็นสำนักปรัชญาเวทานตะที่ไม่แบ่งแยก เป็นสำนักที่ไม่แบ่งแยกขององค์รวมที่มีคุณสมบัติ ซึ่งมีพรหมันเท่านั้นที่ดำรงอยู่ แต่มีลักษณะเฉพาะคือความหลากหลาย. สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเอกนิยมที่มีคุณสมบัติ หรืออทไวนิยมที่มีคุณสมบัติ หรือเอกนิยมตามคุณลักษณะ.
แนวคิดวิศิษฎาทไวตะถือว่ามีอยู่มาเป็นเวลานาน และสันนิษฐานว่าผลงานยุคแรก ๆ ไม่มีให้ใช้แล้ว มีหลักการสำคัญสามประการของ วิศิษฎาทไวตะ:
1. ทัตตวะ (तत्त्व - Tattva -Truth, Reality or True Essence): ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นจริง 3 อย่าง คือ
- ชีวะ (जीव - Jīva - วิญญาณที่มีชีวิต ผู้มีชีวิต - Living entity, soul);
- อชีวะ (अजीव - Ajīva - ผู้ไม่มีความรู้สึก - Lifeless, Non-existence, Death) และ
- ไอศวร (Īśvara - ผู้สร้างและผู้ควบคุมโลก - Supreme Controller, Bhagavān) - ในแง่ของไวษณพนิกาย พระผู้สร้าง องค์ภควานคือพระกฤษณะหรือพระวิษณุ.
2. หิตา (हित - Hita): วิธีการแห่งการตระหนักรู้ เช่น ผ่านภักติ (ความภักดี) และปราปัตติ (प्रपत्ति - Prapatti - การยอมมอบตน)
3. ปุรุษารธ (पुरुषार्थ - Puruṣārtha): เป้าหมายที่ต้องบรรลุ เช่น โมกษะ (मोक्ष - Mokṣa)หรือการหลุดพ้นจากพันธนาการ. (The four goals of human life: sense enjoyment (kāma), economic development (artha), religiosity (dharma), and liberation (मोक्ष - Mokṣa))
02. ศรีรามานุชาจารย หรือ รามานุชะ (श्री रामानुजाचार्य - Śrī Rāmānujāchārya, or रामानुज - Rāmānuja) - ท่านมีชีวิตในช่วง 25 เม.ย. พ.ศ.1620 - ราว พ.ศ.1700 (25 เม.ย. ค.ศ.1077 - ราว ค.ศ.1157) สิริ 79-80 ปี ท่านเป็นปราชญ์ฮินดูภารตะ คุรุ และนักปฏิรูปสังคม ท่านเป็นหนึ่งในผู้เผยแผ่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่สำคัญที่สุด. รากฐานทางปรัชญาของท่านสำหรับการปฏิบัติธรรมมีอิทธิพลในขบวนการภักติ (भक्ति आन्दोलन - Bhakti movement).
อาจารย์ของท่านรามานุชะคือยาดาว ประกาศ (यादव प्रकाश - Yādava Prakāśa) ซึ่งเป็นปราชญ์ที่กล่าวกันว่าเป็นผู้นับถือลัทธิอทไวตะ เวทานตะ แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นลัทธิย่อยเภทาเภทะ (भेदाभेद - Bhedābheda - difference and non-difference) ประเพณีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถือว่ารามานุชะไม่เห็นด้วยกับครูบาอาจารย์ของท่านและลัทธิอทไวตะ เวทานตะที่ไม่เป็นทวิภาวะ แต่กลับเดินตามรอยเท้าของลัทธิทมิฬ อาลวาร์ (Āḻvār - นักบวชและกวีทางใต้ของภารตะ ซึ่งอุปถัมภ์ลัทธิภักติ) ปราชญ์นาธมุนี (नाथमुनि - Nathamuni) และยมุนาจารย์ (यमुनाचार्य - Yamunāchārya) รามานุชะมีชื่อเสียงในฐานะผู้สนับสนุนหลักของสำนักวิศิษฎาทไวตะ เวทานตะ และสาวกของเขาอาจเป็นผู้ประพันธ์ตำราต่าง ๆ เช่น ศาฏยายนียะ อุปนิษัท (शाट्यायनीय उपनिषत् - Śāṭyāyanīya Upaniṣad) ท่านรามานุชะเองก็เขียนตำราที่มีอิทธิพล เช่น สันสกฤตภาสยะ เกี่ยวกับพรหมสูตร และภควัทคีตา.
ปรัชญา วิศิษฎาทไวตะ เวทานตะ (ปรัชญาที่ไม่เป็นทวิภาวะ) ของเขาแข่งขันกับปรัชญาทไวตะ (Dvaita) (ปรัชญาที่เป็นทวิภาวะ) ของมหาคุรุศรี มาธวาจารย์ (माध्वाचार्य - Madhvāchārya) และปรัชญาอทไวตะ (Advaita) (ปรัชญาที่ไม่เป็นทวิภาวะ) ของอาทิ ศังกราจารย์ (Ādi Shankara) ซึ่งรวมกันเป็นปรัชญาพระเวทที่มีอิทธิพลมากที่สุดสามปรัชญาในสหัสวรรษที่ 2 รามานุชะเสนอความสำคัญทางญาณวิทยาและการหลุดพ้นของภักติหรือการอุทิศตนต่อพระเจ้าผู้เป็นบุคคล (พระวิษณุในกรณีของรามานุชะ) เป็นวิธีการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ ทฤษฎีของท่านอ้างว่ามีความหลากหลายและความแตกต่างระหว่างอาตมัน (วิญญาณ) และพรหมัน (ความจริงเหนือธรรมชาติ) ในขณะที่เขายังยืนยันด้วยว่าวิญญาณทั้งหมดมีเอกภาพและวิญญาณของปัจเจกบุคคลมีศักยภาพที่จะบรรลุอัตลักษณ์กับพรหมัน.
03. ลัทธิศรีไวษณพ สัมประไดย (श्रीवैष्णवसम्प्रदाय - Śrīvaiṣṇavasampradāya) - ลัทธิบูชาพระวิษณุ โดยปฏิบัติเป็นหลักในภารตะตอนใต้ เกี่ยวข้องกับลัทธิวิศิษฎาทไวตะ ที่พัฒนาโดยศรีรามานุชาจารย์ เน้นความจงรักภักดี ต่อพระวิษณุและอวตารต่าง ๆ ของพระองค์.
04. อจินตยะ-ภเฑท-อภิตะ (अचिन्त्यभेदाभेद - Achintya-Bheda-Abheda) เป็นสำนักของลัทธิเวทานตะที่เป็นตัวแทนของปรัชญาแห่งความเป็นหนึ่งและความแตกต่างที่ไม่อาจเข้าใจได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังแห่งการสร้างสรรค์และผู้สร้าง (พระกฤษณะ - Kṛṣna) สวายัมภควัน (स्वयं भगवान् - Svayam Bhagavan) และระหว่างพระเจ้ากับพลังงานของพระองค์ภายในประเพณีทางศาสนาลัทธิเกาฑียะ ไวษณพ (गौडीयवैष्णव - Gauḍīyavaiṣṇava) อีกด้วย.
1.
2.
40
ก็ยากที่จะปกป้องตำแหน่งดังกล่าว. ก็ต้องยอมรับว่าแผนแนวคิดของความจริงแท้ที่เผยความคิดนั้นเป็นจริง แต่กระนั้นก็ยังมีการผลักดันให้บางครั้งความคิดไม่เหมือนกับความเป็นจริง. การผลึกรวมแนวคิดทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้ทำให้เราก้าวข้ามแนวคิดไปได้. ความสัมพันธ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของจิตใจที่เชื่อมโยงกัน. แม้แต่จิตที่สูงส่งอันประมาณมิได้นั้น ก็ยังเป็นจิตที่มีรูปแบบเดียวกับมนุษย์. ทฤษฎีเอกนิยมที่ดัดแปลงแล้วนั้นได้รับการนำมาใช้โดยอุปนิษัทบางองค์ และภควัทคีตา เหล่าพุทธมามกะของพระพุทธศาสนาบางท่านหรือบางรูป และศรี รามานุชาจารย์ หรือแม้แต่ปราชญ์บาทรายณะ01. ในโลกตะวันตกนั้น อริสโตเติลและเฮเกล ได้ยืนเป็นพยานถึงเรื่องนี้.
ด้วยมุมมองแรกนั้น ชีวิตที่สมบูรณ์นั้นคือสิ่งจริงแท้ ส่วนการเกิดขึ้นแบบไม่แท้จริงคือสิ่งที่เกิดขึ้นก็ตาม แม้เราจะไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด. ตามมุมมองที่สอง โลกที่บังเกิดขึ้นคือการตกตะกอน (ซึ่งปรากฎให้เห็น) ของชีวิตที่บริสุทธิ์ไปสู่ช่องว่างและเวลา ด้วยแรงของการพร่องหรือมายา. ตามด้วยมุมมองที่สาม ผลผลิตอันสูงส่งที่เรามีคือการสังเคราะห์ของสภาวะบริสุทธิ์และสภาวะที่ไม่มีในพระผู้เป็นเจ้า. เราอยู่ภายใต้ความจำเป็นทางตรรกะในทันที เพื่อจะยืนยันถึงระดับกลางของความจริงแท้ทั้งหมด. (review again from here) หากชีวิตที่บริสุทธิ์ถูกมองว่าเป็นแนวคิดที่ไร้ประโยชน์ ตราบเท่าที่โลกแห่งประสบการณ์เป็นกังวล และเราก็ยังมองข้ามความคิดที่ไร้เหตุผลของพระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างอีกด้วย สิ่งที่มีอยู่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าเพียงการกลายการแปรเปลี่ยน เป็นเพียงความปรารถนาที่จะเป็นอย่างอื่นกว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น. หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ส่งผล. ในโลกแห่งการดำรงอยู่ บนสมมติฐานของเอกนิยมที่ปรับปรุงแล้ว คุณลักษณะเฉพาะของระดับความจริงแท้ขั้นกลางนั้นจะถูกวัดโดยระยะทางที่แยกพวกเขาออกจากความจริงแท้อันสำคัญ. คุณลักษณะพื้น ๆ ของพวกเขาทั้งหมดนั้นมีอยู่ในช่องว่างและเวลา. มนสิการที่น้อมนำใกล้ชิดจะเผยให้เห็นการใช้คุณลักษณะพิเศษที่มากขึ้นเรื่อย ๆ . เมื่อยอมรับความแตกต่างระหว่างความจริงแท้ที่ครุ่นคิดและวัตถุทั่วไปที่คิดไม่ได้แล้วนั้น และเราก็มีปรัชญาคู่หรือทวินิยม {ความจริงแท้ของสรรพสิ่งมี 2 อย่างเป็นของคู่กัน คือเป็นทั้งรูปธรรม (สสาร) และนามธรรม (จิต)} ของมาธวะ. แม้ว่าสิ่งนั้นโดยพื้นฐานแล้วจะเป็นเอกนิยม ตราบเท่าที่

ศรี มาธวาจารย์ (ค.ศ.1238-1317), ที่มา: goloka.com, วันที่เข้าถึง 11 พฤษภาคม 2564.
1.
ผู้จริงแท้ ได้ขึ้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า (วรตันตระ) ผู้ซึ่งทรงโดดเดี่ยวเป็นอิสระ (สวตันตระ). เน้นถึงความเป็นอิสระของชีวิตที่มีความคิด และเรามีพหุนิยมตามหลักปรัชญาสางขยะ หากเพียงเราไม่กังวลเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่ปรากฏให้เห็น. เมื่อเพิ่มความเป็นส่วนใหญ่หรือความมากมายของสสารต่าง ๆ ในโลกแล้ว เราก็จะมีความเหมือนจริงแบบพหุนิยม แม้ที่ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้กลายเป็นหนึ่งเดียว ท่ามกลางสิ่งต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าพระองค์จะยิ่งใหญ่หรือทรงพลังก็ตาม. ในการถกเถียงกัน
หมายเหตุ คำอธิบาย
01. บาทรายณะ (बादरायण - Bādarāyaṇa) - ปราชญ์อินเดียที่มีชีวิต (ประมาณไว้กว้าง ๆ ) ระหว่างพุทธศักราชที่ 43-343 หรือราว 500-200 ปีก่อนคริสตกาล ท่านเขียนงานด้านพรหมสูตร ที่ต่อมางานของท่านเรียกว่า เวทานตะสูตร – มีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า แต่งานส่วนสำคัญในพรหมสูตรนั้น ได้พัฒนาไว้แล้ว ก่อนที่ปราชญ์บาทรายณะจะเขียนขึ้นต่อเติมภายหลัง อย่างไรก็ตามท่านก็ได้รับการยกย่องว่าได้เขียนงานพื้นฐานของระบบเวทานตะไว้.
1.
2.
41
เกี่ยวกับระดับกลางของความจริงแท้ของหน่วยแห่งความเป็นปัจเจกนั้น ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับจินตนาการของปราชญ์. และแม้ว่าระบบจะกลายเป็นว่าไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าหรือเทวนิยมก็ตามนั้น อันได้ถูกกำหนดไว้แล้วโดยการจ่ายชำระอย่างตั้งใจให้แก่สิ่งสมบูรณ์อันเป็นโล่ด้านบทบาทการละครของจักรวาล. บางครั้งมันก็สาดส่องเรืองรองออกมาด้วยแสงที่มุ่งสู่พระผู้เป็นเจ้า และบางครั้งก็อันตรธานไป. นี่คือวิธีต่าง ๆ ที่จิตใจมนุษย์สนองต่อปัญหาของโลกตามระเบียบปฏิบัติที่จัดทำเฉพาะขึ้นเอง.
ในความคิดของชนอินเดียนั้น มีความกลมเกลียวกันสนิทใจระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างทั้งสอง มีความชัดเจนมากขึ้นในโลกตะวันตก. มีหลาย ๆ ปกรณัมของชนชาติต่าง ๆ ก็บ่งบอกถึงเรื่องนี้เช่นกัน. ตำนานของโพรมีธีอุส ผู้เป็นตัวแทน ผู้พยายามช่วยเหลือมนุษยชาติโดยปกป้องพวกเขาจากมหาเทพซุส ที่ปรารถนาจะทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์และแทนที่พวกเขาด้วยสายพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่า เรื่องราวของความยากลำบากของเฮอร์คิวลิสที่พยายามจะไถ่โลก ในความคิดของพระคริสต์ในฐานะบุตรของมนุษย์ บ่งชี้ว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางแห่งความสนใจในโลกตะวันตก. เป็นความจริงที่พระคริสต์ได้รับการขนานนามว่าเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นบุตรองค์โตที่ถือกำเนิดขึ้นมาซึ่งจะต้องถูกบวงสรวงหรือสังเวยก่อนที่ความโกรธของพระผู้เป็นเจ้าจะสงบลงได้. ประเด็นที่เรา ณ จุดนี้คือแนวโน้มหลัก ของวัฒนธรรมตะวันตกคือความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ที่ซึ่งมนุษย์ต่อต้านมหิทธานุภาพของพระองค์ ขโมยไฟจากพระองค์มาเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ. ในอินเดียนั้น มนุษย์เป็นผลผลิตของพระผู้เป็นเจ้า โลกทั้งใบเกิดจากการเสียสละของพระองค์.ในปุรุษสุกตะ ได้กล่าวถึงการเสียสละชั่วนิรันดร์ ซึ่งค้ำจุนมนุษย์และโลกไว้.1 ในโลกทั้งใบถูกมองว่าเป็นชีวิตเดียวที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล และใหญ่โตอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยวิญญาณเพียงดวงเดียว อันได้รวมสารัตถะของชีวิตทุกรูปแบบไว้.
คุณลักษณะเด่นของจิตใจชนอินเดีย ซึ่งทำให้วัฒนธรรมของตนมีสีสันและหล่อหลอมความคิดไว้ทั้งหมดนั่นคือความโน้มเอียงทางจิตวิญญาณ. ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณเป็นรากฐานของความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรมของอินเดีย. มันเป็นเวทย์มนต์ ไม่ใช่ในแง่ของการใช้อำนาจลึกลับใด ๆ แต่เป็นเพียงการยืนยันในวินัยตามธรรมชาติของมนุษย์เท่านั้นที่นำไปสู่การตระหนักถึงจิตวิญญาณ. ในขณะที่พระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮีบรูและชาวคริสต์นั้นเป็นมากกว่าศาสนาและจริยธรรม ทว่าชาวฮินดูนั้นเป็นมากกว่าซึ่งจิตวิญญาณและ
---------------
1 ฤคเวท บรรพที่ 10. อัธยายะที่ 90; ดู ฤคเวท, บรรพที่ 10. อัธยายะที่ 81, 3 ; เศวตอัศวทระ อุปนิษัท, บรรพที่ 3; ภ.ต., บรรพที่ 11.
.
.
42
ซึ่งใคร่ครวญ. ข้อเท็จจริงประการหนึ่งในอินเดียคือการมีชีวิตอันนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า.
.
.
.