MENU
TH EN

คู่มือผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน 2

Title Thumbnail & Hero Image: ผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน, ประมวลผลจาก Copilot AI เมื่อ 29 เมษายน 2567.
คู่มือผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน 2
First revision: Apr.29, 2024
Last change: May 7, 2024
สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย
อภิรักษ์ กาญจนคงคา
.
 
หน้าที่ 1
  • คำพรรณนาลักษณะงานของ CFO: ดูแลระบบบัญชีการเงิน การรายงาน และการเปิดเผยข้อมูล การให้ความมั่นใจในการปฏิบัติตามการรายงานทางการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และข้อกำหนดการบัญชี กฎหมายหลักทรัพย์ ให้ความมั่นใจในการปฏิบัติขององค์บริหารส่วนท้องที่ รัฐบาลส่วนกลาง และกฎหมายภาษี ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาดหลักทรัพย์รอง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวให้กับ SMEs (MAI - Market for Alternative Investment); จัดทำ ติดตาม และประเมินผลการควบคุมภายใน ทำงานร่วมกับ CEO ในการพัฒนาเป้าหมายและแผนเชิงกลยุทธ์ ดำเนินการตามแผนเชิงกลยุทธ์ และประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ มีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณระยะยาวและระยะสั้น ทักษะการสื่อสารและการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมในทีมงาน สามารถระดมทุนและบริหารจัดการโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้สูงสุดและลดต้นทุนเงินทุนของบริษัทได้ พัฒนา ติดตาม และประเมินผลโครงการบริหารความเสี่ยง สื่อสารกับคณะกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ไม่อ่อนไหวต่อผลกระทบของคริปโตไนต์.
  • จากวิกฤติการณ์ทางการเงิน ช่วง คศ.1990s-ต้น 2000s การล้มของบริษัทยักษ์ใหญ่ ENRON, WorldCom และอีกหลายบรรษัท ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาทางด้านผู้สอบบัญชีและการกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติตามกฎที่วางไว้ (Auditor, Governance, & Compliance) รัฐสภาสหรัฐได้ออกรัฐบัญญัติซาร์เบนส์-ออกซเลย์ (Sarbanes-Oxley Act of 2002 - SOX Act) ขึ้น เพื่อจัดการกับภาระความรับผิดและความรับผิดชอบในการสอบบัญชีและบรรษัท (Corporate and Auditing Accountability and Responsibility Act) ซึ่งผลมายังมาตรฐานการบัญชีไทย และกฎระเบียบนโยบายต่าง ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีต่อบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาดังนี้.
    • เน้นธรรมาภิบาล พัฒนามาตรฐานผู้สอบบัญชี
    • ไม่อนุญาติให้บริษัทสอบบัญชี (Auditor Firm) ทำงานด้าน Non-Audit เช่น ที่ปรึกษาด้านการจัดการ (Management Services) ที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เป็นต้น.
    • เน้น ความรับผิดชอบของกิจการ (Corporate Responsibility) มีให้กรรมการอิสระในชุดคณะกรรมการตรวจสอบ.
    • การรายงานสู่สาธารณะรายไตรมาสต้องมีการลงนามรับรองโดย CEO และ CFO.
    • ให้การตรวจสอบของ Auditor มีความเป็นอิสระเพียงพอ.
    • ให้มีการเปิดเผยรายละเอียดเรื่องโบนัส กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์.
    • ห้ามเรื่องการซื้อขายภายใน (Insider trading) ระหว่างระยะเวลาปิดกองทุนบำเหน็จบำนาญ (A Pension Fund Blackout Period).
    • ให้เปิดเผยรายการสำคัญที่อยู่นอกเหนืองบแสดงฐานะทางการเงิน (Balance Sheet).
    • ให้มีการกระทบยอดจากการประมาณการข้อมูลทางการเงินกับผลที่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP - Generally Accepted Accounting Principle).
    • มีข้อห้ามในหมวดเงินยืมกรรมการหรือผู้บริหารหลายประเภท.
    • เพิ่มการเปิดเผยข้อมูล รายการกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นหลัก.
    • ให้เปิดเผยจรรยาบรรณของพนักงานทางการเงิน (Code of Ethics for Financial Officer).
    • ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางการเงินอย่างน้อยหนึ่งคนในคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee).
  • มีการวิเคราะห์รายการที่ขัดผลประโยชน์กัน (Analyst Conflict of Interest).
    • เพิ่มความเป็นอิสระในการวิเคราะห์และกิจกรรมด้านวานิชธนกิจ กำหนดให้มีการเปิดเผยการวิเคราะห์รายการที่ขัดผลประโยชน์กันให้ทราบ.
  • ต้องมีรายงานการศึกษา อุตสาหกรรมธูรกิจการสอบบัญชี อุตสาหกรรมการให้ Credit Rating ผู้ฝ่าฝืน (Violators) กฎหมายด้านหลักทรัพย์ การบังคับใช้ และธนาคารวานิชธนกิจ.
  • ความสำนึกรับผิดชอบของกิจการต่อการฉ้อโกงและอาชญากรรม (Corporate and Criminal Fraud Accountability).
    • กำหนดให้มีบทลงโทษทางอาญาในการทำลายหลักฐาน.
    • จัดให้มีการแจ้งเบาะแส การหลอกลวง.
    • กำหนดให้มีการลงโทษทางอาญาในการหลอกลวงผู้ถือหุ้น.
  • เพิ่มประสิทธิภาพการลงโทษทางอาชญากรรมแก่ผู้บริหาร.
    • จัดให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพบทลงโทษทางอาญา แก่ผู้บริหารที่ก่ออาชญากรรม อย่างเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ โทรคมนาคมต่าง ๆ .
    • กำหนดให้มีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดที่ได้รับรองรายงานทางการเงิน.
  • การหลอกลวงและสำนึกรับผิดชอบของกิจการ (Corporate Fraud and Accountability)
    • กำหนดให้มีเบี้ยปรับและการจำขังที่เป็นไปได้ต่อการเข้ามายุ่งเกี่ยวด้านเอกสารในการสืบสวน.
    • จัดให้ SEC (กลต.) มีอำนาจหน้าที่ในการหยุดยั้งหยุดรายการจ่ายเงิน ในขณะที่มีการสืบสวน.
    •  
หน้าที่ 2
ซึ่งรัฐบัญญัติ SOX 2002 นี้ กระทบโดยตรงต่อ CFO ดังนี้:
  • (Section 206:) ลดการขัดผลประโยชน์ในการทำผิดกฎหมายได้ คือห้ามมิให้สำหรับ CEO, CFO, Controller หรือบุคลากรที่เทียบเท่าเข้าทำงานในบริษัทสอบบัญชีอิสระและเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบัญชีของบริษัทภายใน 1 ปีที่มีการ Audit.
  • (Section 302:) ให้ CEO, CFO และเจ้าหน้าที่/ผู้บริหารที่เทียบเท่า รับรองรายงานประจำปี รายไตรมาส และลงนามรับผิดชอบถึงการจัดวางและธำรงระบบการควบคุมภายใน. ด้วยการรับรอง ถือเป็นการยืนยันการรายงานความขาดแคลนหรือบกพร่องใด ๆ ต่อผู้สอบบัญชีและคณะกรรมการตรวจสอบ.
  • (Section 304:) กำหนดให้ กกต. (SEC) ริบทรัพย์จากค่า Incentive ค่าตอบแทนที่คำนวณจากส่วนของทุน (Equity-based) หรือโบนัสที่ได้ค่าตอบแทนในการบริหารจัดการ อันเนื่องมาจากการปรับงบการเงินที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎกติกา (Noncompliance) บทบัญญัตินี้จะยับยั้งฝ่ายจัดการในการเข้าตบแต่ง (Manipulate) ผลจากรายงานทางบัญชีการเงิน แก่ประโยชน์ส่วนบุคคล.
  • (Section 401:) กำหนดให้มีการจัดทำรายงานทางการเงิน ไม่เพียงการนำเสนอจะต้องถูกต้องเท่านั้น แต่ต้องนำเสนอลักษณะที่ไม่ถูกต้องหรือล้มเหลวนั้นเป็นเช่นไรในการนำเสนอสถานะของข้อมูลที่สำคัญ ต้องการให้เปิดเผยสระสำคัญของรายการที่อยู่นอกงบการเงิน (Off-balance Sheet Transactions)01. อีกด้วย.
  • (Section 401:) กำหนดให้เปิดเผยการประเมินเชิงการจัดการของการควบคุมภายในและการยืนยัน (Attestation) ของผู้สอบบัญชี ที่เกี่ยวกับการประเมินฝ่ายจัดการ.
  • (Section 404:) ข้อกำหนดของรายงานที่เกี่ยวกับการควบคุมภายใน กำหนดให้มีต้นทุนเริ่มตั้งบริษัทที่มีสาระสำคัญ. ที่มีความสำคัญมากก็คือบทบัญญัตินี้ได้สร้าง Liability risk ที่เกิดจาก CEO, CFO. นั่นคือสำนักงานสอบบัญชีและฝ่ายจัดการที่ลงนามในรายงานการควบคุมภายในต้องรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของระบบการควบคุมภายใน.
  • (Section 409:) บทบัญญัตินี้ได้กำหนดเวลาที่ต้องดำเนินการให้ทันเวลา มีการเปิดเผยข้อมูลด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ แสดงการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญต่าง ๆ ของการดำเนินงานภายในบริษัท หรือฐานะทางการเงิน. ผลกระทบคือ (1) เป็นบทขยายของจำนวนเหตุการณ์ที่กำหนดให้บริษัทฯ ต้องกรอกแบบฟอร์ม 8-K ภายใต้กฎบัตรของ กกต. ในปี ค.ศ.1934 (2) กำหนดเวลาไว้ 4 วันทำการ.
  • (Section 906) บทบัญญัตินี้: กำหนดให้มีการรับรองในรางานการตรวจสอบโดย CEO, CFO ด้วยการเคารพถึงการทำตามกฎกติกาของกฎหมายด้านหลักทรัพย์ฯ และเป็นข้อมูลที่นำเสนออย่างยุติธรรมถึงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ. บทลงโทษทางอาญานั้นมีความเป็นไปได้สำหรับการให้การรับรอง เมื่อไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ (Noncompliance).

ประมวลผลจาก Copilot AI เมื่อ 3 พฤษภาคม 2567.
หมายเหตุ คำอธิบาย:
01. จะอธิบาย รายการที่อยู่นอกงบการเงิน (off-balance sheet transactions) ในบทที่ 3.

 
หน้าที่ 3
บทบาทความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของ CFO
  • ลดบทบาทด้านการเงินบัญชีลง แต่จะให้รุกเดินไปข้างหน้า (Proactive) ในอนาคตของกิจการ การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของกิจการมากขึ้น.
    • ตามธรรมเนียมทั่วไปแล้ว หน้าที่ความรับผิดชอบของ CFO จะเกี่ยวกับบัญชีและงานด้านสินทรัพย์ การเงิน (Treasury). การบัญชีประเภทงบประมาณ ประมาณการ รายงานทางการเงิน และการวัดผลการดำเนินงาน CFO ต้องเชี่ยวชาญด้านบัญชีการเงิน บัญชีเพื่อการจัดการและงบประมาณ. มีความสามารถในการสื่อสาร เข้าใจถ่องแท้ถืงข้อมูลภายในองค์กร เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น และอื่น ๆ.
    • งานด้าน Treasury สินทรัพย์ การตัดสินใจลงทุน การตัดสินใจด้วยโครงสร้างเงินทุน การลงทุนระยะยาว และความต้องการที่จะให้ CFO สรุปหลักการลงทุนต่าง ๆ ของกิจการให้ฝ่ายจัดการทราบ.
  • บทบาทความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของ CFO ประกอบด้วย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance) การจัดการด้าความเสี่ยง (Risk management) การสื่อสาร (Communication) และการประเมินผลการดำเนินงาน (performance evaluation). งานที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่ความซับซ้อนในบทบาทของ CFO, จึงต้องกำหนดให้มีความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ มีความเข้าใจในด้านความเสี่ยง และความสามารถในการสื่อสารกับความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนมีความสามารถในการประเมินผลการดำเนินงาน. เครื่องมือที่ใช้ อย่างเช่น OKRs - Objectives and Key Results, BSC - Balanced Scorecard, Economic Value Added, และการคำนวณวัดต่าง ๆ  เป็นต้น.
  • เราสามารถแสดงการเชื่อมต่อ (nexus) ความรับผิดชอบของ CFO ได้ดังในภาพที่ 1.1


ภาพที่ 1.1 ความรับผิดชอบของ CFO



 
หน้าที่ 4
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ: ภาษี, กฎหมาย, และระเบียบข้อบังคับ (Compliance: Tax, Legal, and Regulatory)
  • ข้อบังคับที่เป็นระเบียบต้องปฏิบัติตามของ CFO นั้น มีความซับซ้อนมากขึ้นในฐานที่เป็นกฎหมายข้อบังคับที่ยกร่างขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลง.
  • ดังเช่น CFO ต้องมีความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ที่กระทบต่อการบัญชีการเงิน การจัดการด้านความเสี่ยง และการจัดการด้านการควบคุมภายใน. กฎหมาย ระเบียบ และกฎที่ CFO จะต้องมีความคุ้นเคย ประกอบด้วย
    • ข้อกำหนดรายงานเสนอ กลต. และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง.
    • การปฏิบัติตามรัฐบัญญัติ SOX year 2002.
    • หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP - Generally Accepted Accounting Principle) มาตรฐานการบัญชีไทย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (IFRS - International Financial Report Standard), มาตรฐานรายงานทางการเงินของไทย (TFRS - Thai Financial Reporting Standards).
    • การรายงานตามที่สรรพากรกำหนด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และระเบียบต่าง ๆ .
    • การปฏิบัติงามตามกฎกติกา ตามนโยบาย Anti-Corruption.
  • CFO ต้องทราบถึงความเปลี่ยนแปลง เพื่อการวางแผน และการประมาณการที่มีประสิทธิภาพ เช่น IFRS, IASC (The International Accounting Standards Committee), FASB (Financial Accounting Standard Board) ซึ่งกระทบต่อรายงานทางการเงิน และการตัดสินใจทางการเงินต่าง ๆ .

การสื่อสาร (Communications)
  • บทบาทเดิม - สื่อสารกับ Company's stakeholders, creditors, shareholders และอื่น ๆ โยงไปถึงสถานะทางการเงิน และ ผลการดำเนินงานของบริษัท.
  • บทบาทใหม่ - เพิ่ม Risks และกลยุทธ์ของบริษัทฯ ความโปร่งใส (Transparency) การเปิดเผยข้อมูลที่ Real-time เพิ่มแรงกดดันด้วยข้อมูลปัจจุบันที่ต้องแม่นยำ (Accurate current information).







 
info@huexonline.com